การตัดชิ้นเนื้อ (Biopsy)

การตัดชิ้นเนื้อ หมายถึง การใช้มีดหรือเครื่องมือที่มีคมตัดก้อนเนื้อ หรือตัดเนื้อเยื่อออกจาก เนื้อเยื่อ อวัยวะ แผล ก้อนเนื้อ หรือ รอยโรคต่างๆ โดยตัดเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ขนาดมักไม่เกิน 1 เซนติเมตร อาจเพียงชิ้นเดียวหรือหลายชิ้น ขึ้นกับตำแหน่งรอยโรค ขนาดรอยโรค และพยาธิสภาพของรอยโรค เพื่อนำชิ้นเนื้อเล็กๆนั้นมาผ่านกระบวนการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่เรียกว่า การตรวจทางพยาธิวิทยา

การตัดชิ้นเนื้อ สามารถทำได้โดยแพทย์ทุกคน ถ้าก้อนเนื้อหรือเนื้อเยื่อที่ต้องการตัดมาตรวจอยู่ที่ผิวหนัง แต่ถ้าก้อนหรือเนื้อเยื่อที่ต้องการตัดมาตรวจอยู่ลึกในอวัยวะอื่นๆ การตัดชิ้นเนื้อ มักตัดโดยศัลยแพทย์ แพทย์ด้านรังสีร่วมรักษา และ/หรือแพทย์เฉพาะทางตามสาขาของอวัยวะนั้นๆ เช่น

  • การส่องกล้องตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อในลำไส้ใหญ่ อาจทำโดยศัลยแพทย์ หรือ อายุรแพทย์โรคทางเดินอาหาร
  • หรือการตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก อาจทำโดยสูตินรีแพทย์ หรือ แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

โดยทั่วไป การตัดชิ้นเนื้อของเนื้อเยื่อบริเวณผิวหนัง เป็นหัตถการที่ทำได้ที่ห้องตรวจผู้ ป่วยนอก ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวล่วงหน้าหรือได้รับยาสลบ เพียงแต่ได้รับยาชาเฉพาะที่ แต่การตัดชิ้นเนื้อของอวัยวะที่อยู่ลึก เช่น ปอด ทางเดินอาหาร กระเพาะปัสสาวะ สมอง ก็จำ เป็นต้องมีการให้ยานอนหลับ ยาชา หรืออาจเป็นยาสลบ และจำเป็นต้องทำในห้องผ่าตัดที่ต้องมีการเตรียมผู้ป่วยล่วงหน้า โดยเฉพาะการงดอาหารและน้ำดื่มล่วงหน้าอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลักอาหารเข้าปอดในช่วงนอนหลับหรือได้รับยาสลบ

การตรวจด้วยการตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เป็นการตรวจที่ให้ผลวินิจฉัย โรคได้แม่นยำสูง แต่อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่จะตัดชิ้นเนื้อได้ไม่ตรงกับรอยโรค จึงทำให้ผลตรวจ ระบุว่าไม่มีโรคทั้งๆที่มีโรค (ผลลบ) ได้ เช่น เป็นก้อนมะเร็ง แต่ผลการตรวจ ไม่พบเป็นมะ เร็ง เป็นต้น เรียกว่า “ผลลบลวง (False negative)” ดังนั้นในการวินิจฉัยโรค แพทย์จึงจำเป็น ต้องใช้หลายวิธีการร่วมกัน เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องที่สุด เช่น ประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจภาพเนื้อเยื่อ/อวัยวะที่มีโรคด้วยเอกซเรย์ เป็นต้น

การตัดชิ้นเนื้อ เป็นหัตถการที่ปลอดภัย ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่พบเกิดผลข้างเคียงได้บ้างประปราย เช่น แผลผ่าตัดติดเชื้อ อวัยวะที่ถูกตัดชิ้นเนื้อติดเชื้อ เลือดออกมากจากแผลผ่าตัดหรือจากอวัยวะที่ถูกตัดชิ้นเนื้อ หรืออวัยวะนั้นๆทะลุกรณีอวัยวะนั้นๆเป็นท่อหรือเป็นถุง เช่น ลำ ไส้ กระเพาะปัสสาวะ และปอด

บรรณานุกรม

  1. Biopsy http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003416.htm [2013,Aug8].