กรดยูริค (Uric acid)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 27 กันยายน 2554
- Tweet
- เกาต์ (Gout)
- นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)
- นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)
- พิวรีน สารพิวรีน (Purine)
- โรคข้อ (Joint disease)
- โรคไต (Kidney disease)
- โรคเลือด (Blood Diseases)
กรดยูริค เป็นสารปลายทางของ ‘สารพิวรีน’ ซึ่งสารพิวรีนเป็นสาระสำคัญในดีเอ็นเอ (DNA) และในอาร์เอ็นเอ (RNA) ของเซลล์ (สารซึ่งเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมของเซลล์) และยังเกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานต่างๆของเซลล์ด้วย โดยสารพิวรีนเป็นทั้งสารที่ร่างกายสังเคราะห์ได้เองและได้จากอาหาร ซึ่งเมื่อร่างกายใช้สารพิวรีนแล้วจะเหลือเป็นสารปลายทางที่เรียกว่า ‘กรดยูริค’
อาหารมีสารพิวรีนสูงได้แก่ เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล ปลาทะเล หอยแครง น้ำเกรวี (Gravy) และจากพืชบางชนิดเช่น หน่อไม่ฝรั่ง ผักขม ยอดผัก และถั่วชนิดมีรูปร่างคล้ายไต (ถั่วดำ ถั่วแดง)
อาหารมีสารพิวรีนต่ำได้แก่ ธัญพืชชนิดเต็มเมล็ด นม (ควรเป็นนมพร่องไขมันเพื่อลดโอ กาสเกิดไขมันในเลือดสูง) ไข่ และปลาน้ำจืด
บรรณานุกรม
- Low purine diet http://www.drugs.com/cg/low-purine-diet.html [2014,Nov15].
Updated 2014, Nov 15