กระดานสุขภาพ

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
Crea*****r

26 เมษายน 2559 15:43:12 #1

เมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาผมได้ไปเที่ยวบริการนวดกระปู๋แห่งหนึ่ง โดยเลือกคอร์สแบบบอดี้ทูบอดี้ (Body To Body) ซึ่งจะเป็นการนวดโดยใช้ร่างกายของหญิงบริการเบียดเสียดถูไถไปตามเรือนร่างของฝ่ายชายเพื่อสร้างอารมณ์ทางเพศ มีท่าจำลองให้เหมือนลักษณะร่วมเพศ แต่ขอเน้นว่าไม่มีการสอดใส่อวัยวะเพศ ไม่มีการทำออรัลเซ็กซ์ เป็นแต่เพียงการสำเร็จความใคร่ด้วยมือของหญิงบริการ โดยเริ่มจากที่ฝ่ายหญิงบริการจะอาบน้ำให้ฝ่ายชาย โดยระหว่างนี้จะมีการบอดี้ด้วยฟองสบู่ทั้งจากด้านหน้าและด้านหลัง โดยใช้หน้าอก และด้านหลังของฝ่ายหญิงมานัวเนียตามทั่วร่างกายผม ซึ่งในระหว่างการอาบน้ำฝ่ายหญิงได้จับที่ส่วนหัวอวัยวะเพศเพื่อล้างทำความสะอาด หลังจากอาบน้ำเสร็จแล้วจะเป็นในเรื่องของขั้นตอนของการนวดตามแขน และขา จากนั้นฝ่ายหญิงจะเริ่มบิ้วอารมณ์ทางเพศให้ฝ่ายชายโดยการใช้ลิ้นเลียที่หัวนม และลงมาจนถึงซอกอวัยวะเพศและโคนอวัยวะเพศ แต่ไม่โดนหัวองคชาติ จากนั้นฝ่ายหญิงก็จะสำเร็จความใคร่ด้วยมือ โดยที่ไม่มีการสอดใส่อวัยวะเพศ จนกระทั่งผมได้สำเร็จตวามใคร่
หลังจากนั้นผมได้เลียและดูดที่หัวนมของฝ่ายหญิงบริการ จากนั้นได้ให้เธอนอนคว่ำลง และได้ใช้อวัยวะเพศของผมที่ในขณะนั้นยังแข็งอยู่ถูไปตามแก้มก้น และล่องก้นแต่ไม่ได้สอดใส่เข้าไป หลังจากนั้นก็ปิดท้ายด้วยการใช้นมของฝ่ายหญิงถูไถไปที่อวัยวะเพศชายโดยใช้มือบีบกระชับทรวงอกเข้าหาอวัยวะเพศที่แทรกอยู่ จากนั้นฝ่ายหญิงจะโยกนมขึ้นลง ๆ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความเสียว และสำเร็จความใคร่ในที่สุด
คำถามที่อยากจะเรียนปรึกษาคุณหมอมีดังนี้
1.การนวดกระปู๋ที่ใช้ร่างกายเบียดเสียดถูไถไปตามเรือนร่างของอีกฝ่าย เพื่อสร้างอารมณ์ทางเพศ จากนั้นฝ่ายหญิงจะสำเร็จความใคร่ให้ฝ่ายชายด้วยการใช้มือเท่านั้น ไม่มีการมีเพศสัมพันธ์ ไม่มีการสอดใส่อวัยวะเพศ ไม่มีการทำออรัลเซ็กซ์จึงอยากทราบว่าพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวตามหลักชององค์การอนามัยโรคนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำพวก HIV จำพวก ซิฟิลิส เริม หนองในแท้ หนองในเทียม หูด และกามโรคอื่นๆ หรือไม่

2.การนำอวัยวะเพศของฝ่ายชายที่เป็นส่วนหัวองคชาติไปถูกับขนอวัยวะเพศหญิง (ขนหัวหน่าว) หรือบางจังหวะอาจจะถูกบริเวณปากถ้ำของฝ่ายหญิงบริการที่อาจจะมีน้ำจากช่องคลอด ถูกส่วนหัวองคชาติ จึงอยากทราบว่าพฤติกรรมในลักษณะดังกล่าวตามหลักององค์การอนามัยโรคนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำพวก HIV จำพวก ซิฟิลิส เริม หนองในแท้ หนองในเทียม หูด และกามโรคอื่นๆ หรือไม่
3.ในระหว่างที่มีการบิ้วอารมณ์ให้เกิดอารมณ์ทางเพศนั้น ฝ่ายหญิงบริการได้มีการเล้าโลมด้วยการเลียที่หัวนมของผมและเรื่อยมาจนถึงซอกอวัยวะเพศและโคนอวัยวะเพศ แต่ไม่โดนหัวองคชาติ ถือว่ามีความเสี่ยงหรือไม่อย่างไร
4.ผมได้ใช้ลิ้นไปเลียและดูดที่หัวนมของฝ่ายหญิง ผมอยากทราบว่าตามหลักองค์การอนามัยโรคนั้น ถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำพวก HIV จำพวก ซิฟิลิส เริม หนองในแท้ หนองในเทียม หูด และกามโรคอื่นๆ หรือไม่
5.ปัจจุบันการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จำพวก ซิฟิลิส เริม หนองในแท้ หนองในเทียม หูด และกามโรคอื่นๆ สามารถตรวจหาได้ภายใน 7 วันหลังมีคามเสี่ยงหรือ 1 เดือน ไม่จำเป็นต้องรอถึง 3-6 เดือน ใช่หรือไม่ เพราะเหตุใด
6.การตรวจเลือดปัจจุบันกี่แบบ และแบบไหนที่เชื่อถือได้มากกว่ากัน
7.HIV และ เอดส์มี ความหมายแตกต่างกันอย่างไร
8.ในกรณีของผมที่เล่าเหตุการณ์มา มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจเลือดหรือไม่

อายุ: 30 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 62 กก. ส่วนสูง: 172ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.96 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ.อนุพงศ์ ชิตวรากร

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และโรคผิวหนัง

30 เมษายน 2559 17:07:15 #2

มีการศึกษาโอกาสของการติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อเอดส์ 1 ครั้ง จากมากไปน้อยดังนี้ ชายหรือหญิงเป็นฝ่ายถูกสอดใส่ทางทวารหนัก 0.5% หญิงเป็นฝ่ายถูกสอดใส่ทางช่องคลอด 0.1% ชายเป็นฝ่ายสอดใส่ทางทวารหนัก 0.065% ชายเป็นฝ่ายสอดใส่ช่องคลอด 0.05% ชายหรือหญิงที่เป็นฝ่ายทำออรัลเซ็กส์ 0.01% ชายหรือหญิงเป็นฝ่ายถูกทำออรัลเซ็กส์0.005% อย่างไรก็ตามโอกาสจะเพิ่มขึนถ้าเป็นกามโรคหรือมีแผลด้วย

1. ถ้าตามร่างกายหรือมือของผู้หญิง ไม่มีแผล เช่นแผลเริม หรือไม่มีหูดหงอนไก่ ก็ไม่ติดโรคติดต่อ และถือว่าไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีครับ

2. ถ้ามีการสัมผัสกับสารในช่องคลอด ก็ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่การถูไถหรือสัมผัสเพียงภายนอก ก็จะมีโอกาสน้อยกว่าการสอดใส่และมีการร่วมเพศหรือการทำออรัลเซ็กส์

3. และ 4. ไม่ถือว่ามีความเสี่ยงครับ

5. และ 6. การตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อเอดส์หรือไม่ วิธีที่ตรวจได้เร็วที่สุดหลังมีความเสี่ยงคือการตรวจด้วยด้วยวิธี NAT คือการตรวจส่วนของเชื้อไวรัสเอชไอวีสามารถตรวจได้เร็วขึ้น คือประมาณ 1 อาทิตย์หลังมีความเสี่ยง แต่จะมีตรวจเฉพาะห้องแล็บใหญ่ๆและมักใช้ในงานวิจัย เนื่องจากมีราคาแพง แนะนำให้ตรวจด้วยวิธีที่ใช้กันทั่วไป คือ GEN 4 ซึ่งเป็นการตรวจแอนติเจนและแอนติบอดี สามารถตรวจได้หลังมีความเสี่ยงประมาณ 3-4 อาทิตย์ ถ้าผลเป็นลบ ก็แสดงว่าไม่ติดเชื้อ แต่ควรตรวจซ้ำหลังเสี่ยงครบ 3 เดือน ซึ่งถ้าผลเป็นลบ ก็ไม่ติดเชื้อเอดส์ ผลการตรวจในห้องแล็บของ รพ.ต่างๆ เชื่อถือได้ เพราะมีการตรวจสอลทางด้านคุณภาพเป็นประจำ ส่วนเรื่องการตรวจโรคอื่นๆขึ้นอย฿่กับระยะฟักตัว เช่น ซิฟิลิส 10 วันถึง 3 เดือน เป้นต้น

7.ส่วนเรื่องเอดส์ และไวรัสเอชไอวี ขออธิบายดังนี้ 1. การติดเชื้อระยะเฉียบพลัน เกิดขึ้นใน 2-4 อาทิตย์หลังจากที่มีพฤติกรรมเสี่ยง โดยจะมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นตามตัว เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต เป็นต้น ซึ่งอาการจะค่อยดีขึ้นใน 1-4 อาทิตย์ เนื่องจากอาการเหล่านี้ไม่ค่อยเฉพาะเจาะจงทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว อาจนึกว่าเป็นไข้หวัดใหญ่ ระยะนี้เรียกว่าระยติดเชื้อเอชไอวีแบบเฉียบพลัน 2. ระยะที่ไม่มีอาการจะเป็นระยะต่อจากระยะเฉียบพลัน ผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างไร ระยะนี้จะอยู่ระหว่าง 3-5 ปี แต่ในบางรายอาจนานเป็น 10 ปีขึ้นไปขึ้นอยู่กับการดูแลสภาพของร่างกายและปริมาณเชื้อไวรัสในเลือด ระยะนี้เรียกว่าระยะติดเชื้อเอชไอวีโดยไม่มีอาการ 3. ระยะที่เป็นเอดส์ ผู้ป่วยเริ่มจะมีภูมต้านทานลดลง น้ำหนักลด ท้องเสียเรื้อรัง มีผื่นคันตามตัว เป็นเชื้อราที่ลิ้น ต่อมาเริ่มมีโรคแทรก เช่น งูสวัด วัณโรคปอด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น ระยะนี่เรียกว่า ผู้ป่วยโรคเอดส์ (เริ่มมีอาการป่วยแทรกซ้อนจากภาวะภูมิต้านทานลดลง)

8. ในกรณีที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือไมแน่ใจ เช่นในกรณีของคุณ แนะนำตรวจเลือดโดยใช้สิทธิทีมี

ผู้ที่มีสิทธิบัตรทองหรือประกันสังคม ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการตรวจรักษาการติดเชื้อ HIV หรือโรคเอดส์ คือ ถ้ายังไม่ติดเชื้อหรือสงสัยว่าจะติดเชื้อ จะสามารถตรวจเลือดเอดส์ได้ปีละ 2 ครั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าตรวจ สามารถใช้บริการได้ตาม รพ. ที่มีสิทธิอยู่ หรือถ้าไม่สะดวก ก็อาจใช้บริการตาม รพ. รัฐบาลทุกแห่ง โดยการแสดงบัตรประชาชน และเมื่อพบว่าติดเชื้อ ก็จะมีการตรวจภูมิต้านทาน หรือ ซีดีโฟร์ (CD4) และให้กินยาต้านไวรัสโดยไม่ต้องเสียค่ายาและค่าตรวจภูมิต้านทาน นอกจากนี้จะมีการตรวจจำนวนไวรัสในเลือด (viral load) ปีละ 1 ครั้ง เพื่อดูว่าการรักษาได้ผลดีหรือไม่ มีคำแนะนำเพิ่มเติม คือวินัยของการกินยามีความสำคัญมาก ถ้ากินยาถูกต้อง ครบมากกว่า 95% การรักษาจะได้ผลดีมาก แต่ถ้ากินยาไม่ครบ ลืมกิน หรือกินไม่ตรงตามเวลาที่กำหนด ก็มีโอกาสดื้อยาได้ ส่วนเรื่องซิฟิลิสก็สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้โดยไม่ต้องเสียค่าตรวจและรักษาเช่นเดียวกัน สามารถสอบถามสายด่วน 1330 ได้ครับ