กระดานสุขภาพ

ปรึกษาปัญหาเกี่ยวกับภูมิแพ้หน่อยครับ
Ziip*****g

13 มิถุนายน 2557 03:33:58 #1

ตอนนี้มีอาการ "จาม มีน้ำมูกไหลเป็นน้ำ สีใส คันเบ้าตา" ขณะที่ตื่นนอน (บางวันก็เป็นระหว่างวัน บางวันก็ไม่เป็น)

ซื้อยา *** มาทานก็หาย

-เป็นอาการของภูมิแพ้ใช่หรือไม่ครับ

-เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราแพ้อะไรบ้าง ที่รพ.มีให้ตรวจแบบทดสอบสารภูมิแพ้อะไรประมาณนี้หรือไม่ครับ (รพ.ทมหาราชเชียงใหม่มีให้บริการการตรวจสอบแบบนี้หรือเปล่า)

-จำเป็นไหมที่เป็นภูมิแพ้แบบนี้จะแพ้ขนแมวด้วย (อยากเลี้ยงแมวครับ)

-ภูมิแพ้ลักษณะนี้มีวิธีรักษาให้หายขาดได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ :)

อายุ: 22 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 70 กก. ส่วนสูง: 172ซม. ดัชนีมวลกาย : 23.66 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

13 มิถุนายน 2557 18:03:04 #2

ถึง คุณ ziipkung

เพื่อความเหมาะสมในการใช้สื่อสาธารณะ ทาง Admin ขออนุญาตลบชื่อทางการค้าออกจากหน้าเว็บนะคะ และทาง Admin ได้ส่งเนื้อหาทั้งหมดของคำถามให้ทางคุณหมอเรียบร้อยแล้วนะคะ ดังนั้น คุณ ziipkung ยังสามารถติดตามคำตอบของคุณหมอได้เช่นเดิมค่ะ

พ.อ.นพ.ณฐพล จันทรอัมพร

(แพทย์ หู คอ จมูก)

18 มิถุนายน 2557 03:34:35 #3

- ใช่ครับเป็นอาการของโรคภูมิแพ้

- จะรู้ว่าแพ้อะไรได้โดยการสังเกตุว่ามีอาการหลังจากแพ้อะไร
สิ่งที่แพ้จะเข้าสู่ร่างกายโดยหายใจ รับประทานอะไรไปหรือมาสัมผัสกับร่างกายครับการทดสอบภูมิแพ้ไม่อาจบอกได้หมดว่าแพ้อะไรบ้าง สิ่งที่แพ้อาจไม่ได้เอามาทดสอบ

- คนเป็นโรคภูมิแพ้จะแพ้ได้หลายชนิด ขนแมวก็อาจแพ้ได้ครับ(แพ้ได้มากบางคนหอบหืดได้ครับ)

-โรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายครับ แพทย์สามารถควบคุมโรคไม่ให้มีอาการได้เช่นเดียวกับควบคุมโรคความดันสูง เบาหวาน ฯลฯ

ขอเรียนว่าเป็นสิ่งถูกต้องที่การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อไม่ให้มีอาการแพ้ แต่การรู้ว่าแพ้อะไรไม่ได้ทำให้โรคหายนะครับ

การที่เราจะไม่มีอาการแพ้และมีชีวิตเหมือนคนปกติได้นั้นต้องควบคุมโรคภูมิแพ้ให้ได้ครับ (การทดสอบภูมิแพ้ที่ผมทำอยู่นั้นไม่ได้ทำเพื่อให้ทราบว่าแพ้อะไรหรอกครับแต่ทำเพื่อให้ทราบความรุนแรงว่าแพ้มากน้อยขนาดไหนเพื่อฉีดสารก่อภูมิแพ้ได้ขนาดเหมาะสมที่ฉีดแล้วไม่แพ้สารที่ฉีดเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อสารนั้นเป็นการลดallergic load ของผู้ป่วย)

http://youtu.be/bAbcT1t2YfU

 

การทดสอบภูมิแพ้โดยวิธี TiTration

  1. ผู้ป่วยจะแพ้สารก่อภูมิแพ้(antigen)หลายตัว และจะแพ้สารก่อภูมิแพ้(antigen)อื่นๆที่ไม่ได้นำมาทดสอบทางผิวหนังได้อีก
  2. การทดสอบภูมิแพ้นั้นเพื่อให้ทราบ ระดับความรุนแรงของโรคและขนาดยาที่เหมาะสม ไม่ใช่เพื่อให้ทราบว่าแพ้อะไร
  3. ทราบว่าแพ้อะไรจากการพยามยามสังเกตสิ่งแวดล้อม เมื่อทราบและหลีกเลี่ยงได้ก็จะไม่มีอาการ
  4. ฉีดสารก่อภูมิแพ้(antigen)เฉพาะตัวสำคัญที่ทำให้เกิดอาการส่วนใหญ่ เพื่อลด allergic load
  5. เป้าหมายในการรักษาไม่ใช่เพื่อหาย แต่เพื่อควบคุมอาการ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขนาดความเข้มข้นของยาซึ่งอาจทำให้แพ้ยาที่ฉีดได้
  6. booster dose จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody มากกว่า primary dose หลายร้อยหลายพันเท่า ดังนั้น interval ในการฉีดยาจึงห่างออกได้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วย
  7. primary dose จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้าง antibody หลังจากฉีดยาเข็มแรกไปแล้วประมาณ 2 อาทิตย์ ผลในการป้องกันโรคจึงยังไม่เกิดขึ้นในทันที
  8. ตามทฤษฎีต้องฉีดยาตลอดไป ในทางปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยไม่มีอาการติดต่อกันนานหลายๆเดือนก็จะหยุดฉีดยา จึงกลับมีอาการอีก ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดฉีดยาแต่สามารถฉีดยาให้ interval ห่างออกมากได้ (ทุก 1 เดือน – ทุก 3 เดือน ฯลฯ)