กระดานสุขภาพ

ทาน P* แล้วเวียนหัวมากเลย
Wiin*****k

21 ธันวาคม 2557 12:55:37 #1

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาตรวจพบว่าเป็นไทรอยด์ค่ะเกินค่ามาตรฐานมาสามเท่าตัวได้ได้ยา
ทาน P* 50 mg. เช้า กลางงวัน เย็น หลังอาหาร
กับอีกตัวคือ Pre* 25 mg. หลังอาหารเช้า

ทุกครั้งที่ทาน P* เข้าไปแล้วรู้สึกมึนหัวมากเลยค่ะ
ปวดหนักๆตรงหน้าผากฝั่งขวา ข้างซ้ายเล็กน้อย ปวดคล้ายๆกับเมารถเลยค่ะแต่ไม่ได้รู้สึกคลื่นไส้นะคะ

ลักษณะนี้เป็นผลข้างเคียงของยา เป็นการปรับตัวของร่างกาย
หรือว่าอื่นๆคะ? มีนัดพบแพทย์อีกครั้งวันที่ 3 มกรา

อายุ: 21 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 48 กก. ส่วนสูง: 165ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.63 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Haamor Admin

(Admin)

21 ธันวาคม 2557 15:08:33 #2

ถึง คุณ wiinphuek

เพื่อความเหมาะสมในการใช้สื่อสาธารณะ ทาง Admin ขออนุญาตลบชื่อทางการค้าออกจากหน้าเว็บนะคะ และทาง Admin ได้ส่งเนื้อหาทั้งหมดของคำถามให้ทางคุณหมอเรียบร้อยแล้วนะคะ ดังนั้น คุณ wiinphuek ยังสามารถติดตามคำตอบของคุณหมอได้เช่นเดิมค่ะ

ภก.ประดิษฐ์ งามศิริผล

เภสัชกร

23 ธันวาคม 2557 14:38:41 #3

Dear Khun wiinphuek,

ตัวยาที่คุณสอบถามมานั้น ประกอบด้วย

- propylthiouracil 50 MG ซึ่งเป็นยาต้านธัยรอยด์ ควรรับประทานยาพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เพื่อลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และช่วยให้ระดับยาในเลือดค่อย ๆสูงขึ้น ไม่ถูกดูดซึมเร็วเกินไป อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบ คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ผมร่วง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยอาการจะค่อย ๆดีขึ้นเอง แต่หากเลย 1 สัปดาห์ไปแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาปรับลดขนาดยา หรือปรับเปลี่ยนเป็นยาอื่น อาการไม่พึงประสงค์ที่ควรรีบไปพบแพทย์ - ผื่นคันร่วมกับไข้ แผลในปาก เป็นจ้ำเลือดโดยไม่ทราบสาเหตุ ปัสสาวะผิดปกติ ท้องอืด แน่นท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง

- atenolol 25 MG เป็นยาที่ช่วยลดความดันโลหิต และอาการใจสั่น อาการกระวนกระวาย
อาการไม่พึงประสงค์ที่อาจพบ เวียนศีรษะ มึนงง ชีพจรเต้นช้า

จากอาการที่คุณให้ข้อมูลมานั้น น่าจะประกอบจากตัวยาทั้งสองตัว โดยหากอาการปวดศีรษะไม่ทุเลาหรือเป็นมากขึ้น อาจโทร.ปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับลดขนาดยาลง จนร่างกายปรับตัวได้ จึงค่อยเพิ่มระดับยาจนได้ผลการรักษาตามต้องการ ช่วงนี้ต้องควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล หรือเกลือเสริมไอโอดีน เนื่องจากจะกระตุ้นให้ต่อมธัยรอยด์ทำงานเพิ่มมากขึ้น ไม่ได้เป็นข้อห้ามนะครับ แต่ต้องคงระดับและรูปแบบ (pattern) ในการรับประทาน เช่น อาจรับประทานกี่ครั้งต่อสัปดาห์ ไม่ควรรับประทานแบบไม่สม่ำเสมอ เช่น สัปดาห์นี้รับประทาน สัปดาห์ต่อไปไม่รับประทานเลย เนื่องจากจะทำให้ยากต่อการปรับระดับยาให้เหมาะสมกับฮอร์โมนธัยรอยด์ที่ตรวจเลือดพบ

- งดรับประทานกะหล่ำปลีสด เนื่องจากมีสารที่จับกับฮอร์โมนธัยรอยด์ ทำให้ยากต่อการปรับระดับยาให้เหมาะกับระดับฮอร์โมนธัยรอยด์ในเลือด

เภสัชกรประดิษฐ์ งามศิริผล

แนะนำบทความดี ๆจากกองบรรณาธิการของเราที่ ไทรอยด์: โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid: thyroid diseases) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์ วว.รังสีรักษา และเวชศาสตร์นิวเคลียร์