กระดานสุขภาพ

กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง
Anonymous

8 เมษายน 2562 05:49:51 #1

มีพี่น้อง7คน.เป็นโรคนี้.4คน,คนที่1=หญิง,คนที่2=ชาย,คนที่3=ชาย,คนที่4=ชาย.เริ่มมีอาการตอนอายุประมาณ26ปีขอคำแนะนำขั้นตอนการรักษา..ตอนนี้น้องชายคนเล็กกำลังเริ่มมีอาการ
อายุ: 52 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 50 กก. ส่วนสูง: 167ซม. ดัชนีมวลกาย : 17.93 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

11 เมษายน 2562 08:27:14 #2

กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงที่ปรึกษามาอาจจะต้องระบุชื่อหรือการวินิจฉัยเพิ่มเติมมาให้นะคะ เนื่องจากการที่มีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง เป็นอาการ ซึ่งมีโรคและกลุ่มโรคหลายอย่างที่มีอาการแบบนี้

เบื้องต้นจากข้อมูล เลยแนะนำเป็นเรื่องของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ALS

โรคเอแอลเอส (ALS) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส ย่อมาจาก Amyotrophic lateral sclerosis เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ (Motor neuron dis ease : MND) ไม่ใช้โรคกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เนื่องจากเซลล์ประสาทนำคำสั่งในไขสันหลังส่วนหน้า และมีบางส่วนของเนื้อสมองเสื่อม จึงสูญเสียการนำคำสั่งในการทำงานมายังกล้ามเนื้อ จึงก่อให้เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อขึ้น

โรคเอแอลเอสนี้ พบได้น้อยมาก ในประเทศไทยไม่มีข้อมูลว่าพบมากน้อยเพียงใด ในยุ โรปพบประมาณ 2 รายต่อประชากร 100,000 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุมากกว่า 60 หรือ 65 ปีขึ้นไป ผู้ชายพบบ่อยกว่าผู้หญิง ไม่พบการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่แน่ชัด

ผู้ป่วยโรคเอแอลเอส จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงบริเวณ แขน มือ ขา ข้างหนึ่งข้างใดก่อน โดยอาการค่อยๆเป็นค่อยๆไป ต่อมามีอาการรุนแรงมากขึ้น ร่วมกับมีอาการ พูดไม่ชัด กลืนอาหารลำบาก กล้ามเนื้อต่างๆลีบ และมีอาการเต้นกระตุกของกล้ามเนื้อด้วย ต่อมาเป็นทั้ง 2 ข้างของร่างกาย อาการในช่วงแรกๆจะไม่ค่อยชัดเจน ผู้ป่วยอาจบ่นว่าอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรงเดิน หรือหยิบจับของไม่ถนัด ร่วมกับมีกล้ามเนื้อเต้นกระตุกด้วย การดำเนินโรคจะใช้เวลาหลายเดือนถึงเป็นปี จึงมีอาการชัดเจน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติด้านความจำ ระดับความรู้สึก ตัวใดๆ รวมทั้งในการขับถ่าย แม้จะเป็นในระยะสุดท้ายของโรคก็ตาม

ผู้ป่วยที่มีปัญหาอาการกล้ามเนื้อเริ่มอ่อนแรงหรือกล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้อเต้นกระตุกบ่อยผิดปกติ และ/หรือพูดลำบาก ควรรีบพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเสมอ ไม่ควรรอให้เป็นมาก

ปัจจุบัน การรักษาและการพยากรณ์โรคของโรคเอแอลเอส คือ โรคเอแอลเอส ยังไม่มียา หรือวิธีใดๆที่จะรักษาให้หายได้ มีเพียงยาชื่อ ริลูซอล (Riluzole) ที่พอจะชะลออาการของโรคได้บ้าง โดยสามารถชะลอภาวะหายใจล้มเหลวได้ระยะเวลาหนึ่งเมื่อเทียบกับไม่ใช้ยา แต่สุด ท้ายผู้ป่วยก็จะมีอาการรุนแรงขึ้น หายใจเองไม่ไหว ต้องใส่ท่อและเครื่องช่วยหายใจตลอดไป โดยส่วนใหญ่ อาการจะค่อยๆเลวลงหลังจากวินิจฉัยได้แล้วประมาณ 2-5 ปี ก็จะมีภาวะหายใจล้มเหลว และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากระบบหายใจล้มเหลว และการติดเชื้อในระบบต่าง ๆโดยเฉพาะในทางเดินหายใจ

ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะค่อยๆไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ เพราะกล้ามเนื้อทุกส่วนจะอ่อนแรง และฝ่อลีบไปเรื่อยๆจนไม่มีแรงเลย ยกเว้นที่พอทำงานได้ คือ การกลอกตาไปมา และการหลับตา ลืมตา

การรักษาที่ดีที่สุดคือ การรักษาประคับประคองตามอาการ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ชะลอการฝ่อลีบให้ช้าลง และเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อน/ผลข้าง เคียงที่จะเกิดขึ้น เช่น แผลกดทับ และการสำลักอาหารและน้ำลาย ที่จะส่งผลถึงการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

อนึ่ง ผู้ป่วยที่มีภาวะหายใจล้มเหลว ก็อาจต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพราะต้องใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งการดูแลในโรงพยาบาลคือ การดูแลการใช้เครื่อง ช่วยหายใจ และการป้องกันการติดเชื้อ ร่วมกับการทำกายภาพบำบัด ดังนั้นถ้าทางครอบครัวมีความพร้อม ก็สามารถให้การดูแลที่บ้านได้ ซึ่งจะปลอดภัยจากภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาล แต่ค่าใช้จ่ายจะสูงมาก และต้องลงทุนซื้อเครื่องช่วยหายใจ และติดตั้งระบบออกซิเจนที่บ้าน ปัจจุ บันก็มีบางครอบครัวที่สามารถทำแบบนี้ได้