กระดานสุขภาพ

ปรึกษาปัญหาโปรตีนรั่วค่ะ
Yuit*****3

6 ตุลาคม 2560 07:10:36 #1

สวัสดีค่ะ คุณหมอ
อยากจะขอปรึกษาสุขภาพหน่อยค่ะ

ส่วนตัวมีโรคประจำตัว SLE ตั้งแต่อายุ 15 ปี โรคเคยสงบโดยไม่ทานยามาระยะนึง แต่ตอนนี้อยู่ในช่วงโรคกำเริบมาได้ 1-2 ปี แล้วค่ะ และผลตรวจปัสสาวะมีโปรตีนรั่วค่ะ
(ทานเพรด กับ cellcept อยู่ค่ะ)

มีความกังวลมากๆเลยค่ะ ว่าจะเป็นโรคไต เพราะ มีคุณพ่อป่วยเป็นโรคไต ฟอกไตมาเกือบ 20 ปีแล้วค่ะ

อยากจะขอคำแนะนำ การปฏิบัติตัว ข้อควรทำ และ ห้ามทำ เพื่อรักษาอาการโปรตีนรั่วให้ดีขึ้นค่ะ หนูไม่อยากฟอกไตค่ะ
รบกวนช่วยหนูด้วยนะคะ

 

ปล. ตอนนี้มีอาการ ดังนี้
1.ปัสสาวะบ่อย
2. ตัวบวม
3. หิวบ่อย+น้ำหนักขึ้น
4. จากการเพิ่มยา แล้วรู้สึกใจเต้นแรง นอนไม่ค่อยหลับ หลับไม่สนิท (ผลจากยาหรืิอเปล่าค่ะ)

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

อายุ: 29 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 44 กก. ส่วนสูง: 146ซม. ดัชนีมวลกาย : 20.64 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

7 ตุลาคม 2560 12:21:01 #2

โรคลูปัส หรือ โรคเอสแอลอี หรือ โรคพุ่มพวง (Lupus หรือ SLE หรือ Systemic lupus erythematosus) คือ โรคภูมิแพ้ตนเอง หรือ โรคภูมิต้านตนเอง (Autoimmune disease) ชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ร่างกายสร้างสารภูมิคุ้มกันต้านทาน หรืออิมมูน (Immune) ผิดปกติ โดยต้านเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆได้กับทุกเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เป็นผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง (ชนิดไม่ใช่จากการติดเชื้อ) ของเนื้อเยื่อ/อวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งที่ก่อให้เกิดอาการได้บ่อย คือ การอักเสบของ ผิวหนัง ข้อ กล้ามเนื้อ ปอด หัวใจ ไต ระบบเลือด/โลหิต/ไขกระดูก และระบบประสาท ทั้งนี้ โรคลูปัส/เอสแอลอี จัดเป็นโรคเรื้อรังโรคหนึ่ง

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า อะไรเป็นสาเหตุให้เกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานผิด ปกติ แต่จากการศึกษาเชื่อว่า น่ามาจากการผิดปกติจากพันธุกรรม โดยน่าเกิดจากความผิดปกติของจีน/ยีน (Gene) หลายๆจีน ซึ่งมีทั้งชนิดถ่ายทอด/ได้ และชนิดไม่ถ่ายทอด

 

นอกจากนั้น ยังมีตัวเสริม/ปัจจัยเสี่ยง เช่น

    • เพศ เพราะพบโรคได้สูงในผู้หญิง
    • การติดเชื้อบางชนิดทั้งจากแบคทีเรีย และไวรัส บางชนิด
    • การถูกแสงแดดจัดเรื้อรัง
    • การแพ้สิ่งต่างๆ รวมทั้งอาหารบางชนิด (ผู้ป่วยควรต้องสังเกตเองว่า แพ้อะไร แล้วหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น)
    • การสูบบุหรี่
    • ฮอร์โมนเพศหญิง (เพราะโรคนี้เกิดในผู้หญิงสูงกว่าในผู้ชาย ถึงประมาณ 7-10 เท่า) และ/หรือการตั้งครรภ์
    • จากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น ยาป้องกันการชัก ยาคุมกำเนิด และยาลดน้ำหนักบางชนิด ซึ่งเมื่อเกิดจากยา หลังหยุดยา โรคมักหายได้
    • อารมณ์ อาการเครียด
    • การทำงานหนัก และ การออกกำลังกายเกินควร

 

อาการของโรคลูปัส/เอสแอลอี เหมือนกันทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นโรคมีอาการได้หลากหลายจากการอักเสบชนิดไม่ติดเชื้อของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของหลายๆเนื้อเยื่อ/อวัยวะทั่วร่างกาย แต่ละอาการเป็นอาการเรื้อรัง เป็นๆหายๆ และแต่ละคนมีอาการต่างกัน ไม่เหมือนกัน แบ่งอาการต่างๆออกเป็นกลุ่มอาการได้ หลายกลุ่มอาการ ได้แก่

 

กลุ่มอาการทั่วไปไข้โดยหาสาเหตุไม่ได้ ปวดศีรษะเรื้อรัง เบื่ออาหาร ผอมลง เช่น เหนื่อยล้า มี

 

กลุ่มอาการทางผิวหนังผิวหนังขึ้นผื่นแดง หาสาเหตุไม่ได้ มักขึ้นในบริเวณส่วนตรงกลางและโหนกแก้มสองข้างของใบหน้าลักษณะคล้ายผีเสื้อ จึงเรียกว่า ผื่นรูปผีเสื้อ (Butterfly rash) และผมร่วง อาจร่วงเป็นหย่อม หรือร่วงทั้งศีรษะ

 

กลุ่มอาการทางข้อ/กล้ามเนื้อปวดข้อ กล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการบวม/แดงร่วมด้วย เกิดได้กับทุกข้อ แต่มักเกิดกับข้อเล็กๆ เช่น ข้อนิ้วมือ ข้อนิ้วเท้า

 

กลุ่มอาการทางปอด/หัวใจ เช่น เจ็บหน้าอก ไอ ปอด/เยื่อหุ้มปอดอักเสบ มีน้ำในปอด เหนื่อย เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ หัวใจเต้นผิดปกติ

 

กลุ่มอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร

 

กลุ่มอาการทางไตความดันโลหิตสูง และมีสารไข่ขาว (Albumin) ในปัสสาวะ เป็นอาการจากการอักเสบของไต เช่น บวมน้ำ (ขาบวม)

 

กลุ่มอาการทางโรคระบบโลหิตวิทยาภาวะซีดจากเม็ดเลือดแดงต่ำ มีเม็ดเลือดขาวต่ำจึงติดเชื้อได้ง่าย มีเกล็ดเลือดต่ำจึงมีเลือดออกได้ง่าย และมีการอักเสบของหลอดเลือด อาจเห็นเป็นจุดแดงๆเล็กๆทั่วตัว คล้ายจากโรคไข้เลือดออก (โรคเลือด) มี

 

กลุ่มอาการทางระบบประสาทโรคจิต เช่น อาการชักโดยไม่ทราบสาเหตุ แขนขาอ่อนแรง ไม่มีสมาธิ

 

ปัจจุบันยังไม่มียา หรือวิธีการรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่เป็นการรักษาให้โรคสงบเป็นพักๆ และการรักษาประคับประคองตามอาการ วิธีการรักษาต่างๆ เช่น

    • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น/ปัจจัยเสี่ยงให้เกิดอาการ ดังกล่าวแล้ว
    • ให้ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานของร่างกาย เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ หรือยาเคมีบำบัดบางชนิดที่ใช้รักษาโรคมะเร็ง
    • ให้ยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่จากการติดเชื้อ
    • ยาแก้ปวดต่างๆ เมื่อมีอาการปวด
    • การรักษาควบคุมโรคต่างๆที่เป็นผลข้างเคียง เช่น โรคไตเรื้อรัง หรือ ยาควบคุมอาการชัก
    • ที่กำลังอยู่ในการศึกษา คือ การปลูกถ่ายไต และการศึกษาหาต้นเหตุของโรค โดยเฉพาะในเรื่องของพันธุกรรมต่างๆ เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง และอย่างเฉพาะเจาะจง และหาทางในการป้องกันการเกิดโรค

 

ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคลูปัส/เอสแอลอีได้เต็มร้อย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือ เมื่อมีอาการผิดปกติดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ เพื่อการวินิจฉัย และการรักษาแต่เนิ่นๆ

 

ซึ่งเมื่อพบแพทย์แล้ว การดูแลตนเองที่สำคัญ คือ

 

  • ปฏิบัติตามแพทย์/พยาบาลแนะนำให้ถูกต้อง เคร่งครัด เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรัง การดูแลตน เองตามแพทย์/พยาบาลแนะนำจึงเป็นเรื่องสำคัญ
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆดังกล่าวแล้วที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น ในการใช้ยาต่างๆ ควรปรึกษา แพทย์ พยาบาล หรือ เภสัชกร และอ่านเอกสารกำกับยาให้เข้าใจก่อนเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการได้รับแสงแดดโดยตรง โดยการใช้ร่ม หมวก หรือใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว เป็นต้น ส่วนการใช้ครีมกันแดด ยังให้ผลไม่ชัดเจน และอาจก่ออาการแพ้ยาได้ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้เสมอ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) ลดโอกาสติดเชื้อ ลดความรุนแรงของโรค และเพื่อการมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
  • ปัจจุบันยังไม่พบมีอาหารที่ป้องกัน หรือกระตุ้นให้เกิดโรคนี้ อย่างไรก็ตามแพทย์ทุกท่านแนะ นำการกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวันในปริมาณที่เหมาะสมที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน จำกัดอาหารแป้ง น้ำตาล ไขมัน อาหารเค็ม โดยเพิ่ม ผัก และผลไม้ให้มากๆ
  • ระมัดระวังในการบริโภควิตามินและเกลือแร่เสริมอาหาร อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนการใช้เสมอ หรืออย่างน้อยปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยานั้นๆ
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ และรีบพบก่อนนัด เมื่ออาการต่างๆเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติไปจากเดิม หรือ เมื่อมีความกังวลในอาการ