กระดานสุขภาพ

คลำเจอก้อนคล้ายลำไส้แข็งๆ
Chay*****n

26 พฤษภาคม 2560 16:07:07 #1

ผมมีแาการเสียดท้องแน่นท้องเป็นมา2เดือนครึ่งละครับ ผมอย่างรู้ว่า ผมคลำเจอก้อนแข็งๆคล้ายลำไส้มาก เวลานอนหงายตรงท้องน้อยข้างซ้ายครับกดแล้วรู้สึกเหมือนเป็นลมมีเสียงครับ ผมมีอาการท้องแปลปรวนด้วยครับเวลานอน เเละถามอีก1อย่างครับ หมอนัดผมไปส่องกล้องกระเพราะใช้30บาทธรรมดา แต่ผมรู้สึกเป็นที่ลำไส้ผมมีอาการแปรปรวน แน่นเสียดท้องตลอดเวลา หมอจะส่องกล้องตรวจลำไส้ให้ป่าวครับ ผมรู้สึกรำคาญกับอสการนี้มากเลยครับ
อายุ: 17 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 55 กก. ส่วนสูง: 173ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.38 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

27 พฤษภาคม 2560 09:22:26 #2

โรคลำไส้แปรปรวน หรือเรียกย่อว่า โรคไอบีเอส (IBS, Irritable bowel syndrome หรือ อาจเรียกว่า Spastic colon) ได้แก่ โรคซึ่งเกิดจากการทำงานผิดปกติของลำไส้ ซึ่งก่อให้เกิดอาการ ปวดท้อง ท้องเสียสลับท้องผูก เป็นๆหายๆ โดยแพทย์มักตรวจไม่พบพยาธิสภาพ (สิ่งผิดปกติ) ของอวัยวะต่างๆในระบบทางเดินอาหาร (กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่)

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคลำไส้แปรปรวน แต่จากการศึกษา มีได้หลายสมมุติฐาน คือ

  • กล้ามเนื้อของอวัยวะภายใน ซึ่งรวมทั้งกล้ามเนื้อลำไส้ อาจทำงานตอบสนองต่อสิ่งกระ ตุ้น (สิ่งเร้า) ผิดปกติ โดยถ้าลำไส้ตอบสนองมากเกินไปต่ออาหาร/เครื่องดื่มที่บริโภค จะทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น จึงเกิดท้องเสีย แต่ถ้าลำไส้เคลื่อนไหวลดลง จะเกิดท้องผูก ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการกลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่ร่วมด้วย จึงเป็นที่มาของสมมุติฐานว่า อาจมีการทำงานผิดปกติของกล้ามเนื้อของอวัยวะภายในต่างๆ
  • เยื่อบุลำไส้ อาจตอบสนองไวต่ออาหาร/เครื่องดื่มสูงกว่าคนปกติ จากการกระตุ้นด้วยอา หาร/เครื่องดื่มบางชนิด เช่น กาเฟอีน จึงส่งผลให้เกิดท้องเสียเมื่อกิน/ดื่ม อาหารที่มีสารตัวกระ ตุ้นเหล่านี้
  • มีตัวกระตุ้นสมองให้หลั่งสารบางชนิด เช่น ซีโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ร่วมกับอาการท้องเสีย เช่น ปัญหาทางอา รมณ์/จิตใจ เช่น ความเครียด
  • อาจจากร่างกายสร้างสารต้านการติดเชื้อของลำไส้ เพราะในผู้ป่วยบางราย พบเกิดโรคนี้ตามมา ภายหลังมีการอักเสบติดเชื้อของลำไส้
  • อาจจากสมองทำงานแปรปรวน จึงส่งผลต่อการแปรปรวนของลำไส้ อาจจากการทำงาน หรือมีปริมาณแบคทีเรียประจำถิ่น (Normal flora แบคทีเรียที่มีประ จำในลำไส้ มีหน้าที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านทานโรค ช่วยการดูดซึมและสร้างวิตามินเกลือแร่บางชนิด) ในลำไส้ผิดปกติ

โรคลำไส้แปรปรวน เป็นโรคเรื้อรัง ดังนั้น อาการต่างๆจึงมักเป็นๆหายๆ บางครั้งอาการอาจดีขึ้น ไม่มีอาการเป็นหลายๆเดือน แล้วกลับมามีอาการใหม่อีก โดยอาการพบบ่อยของโรคลำไส้แปรปรวน ได้แก่

  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีลม (แก๊ส/ก๊าซ) มากในท้อง
  • ปวดท้อง ซึ่งอาการปวดท้องจะดีขึ้นหลังขับถ่าย หลังจากนั้นก็กลับมาปวดท้องใหม่
  • ท้องผูก หรือ ท้องเสียโดยเฉพาะหลังกินอาหาร หรือเมื่อตื่นนอนต้องรีบขับถ่าย หรือ มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย เป็นๆหายๆ บ่อยครั้งอุจจาระคล้ายมีมูกปน แต่ไม่มีเลือดปน
  • มีอาการคล้ายถ่ายอุจจาระไม่หมด/ไม่สุด
  • กลั้นอุจจาระไม่อยู่ เมื่อปวดอุจจาระต้องเข้าห้องน้ำทันที
  • อนึ่งอาการของโรคมักรุนแรงขึ้นเมื่อ กินอาหาร หรือ ดื่มเครื่องดื่มบางชนิด เช่น นม เครื่องดื่มกาเฟอีน (เช่น ชา กาแฟ โคลา) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต และ/หรือ ผัก ผล ไม้ บางชนิด กินอาหารแต่ละมื้อในปริมาณมาก ช่วงมีประจำเดือน และ/หรือในช่วงมีความ เครียด แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเหล่านี้แตกต่างกันได้ในแต่ละบุคคลซึ่งควรต้องสังเกตด้วยตนเอง

ดังกล่าวแล้วว่า เป็นโรคที่มีแต่อาการ แต่ตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ ดังนั้น แพทย์จึงวินิจฉัยโดยตรวจแยกโรคอื่นๆของระบบทางเดินอาหารออกไป ซึ่งเมื่อตรวจทุกอย่างไม่พบโรคอื่นๆ จึงสรุปว่า เป็นโรคลำไส้แปรปรวน
โดยทั่วไป อาการของโรคลำไส้แปรปรวน คล้ายกับอาการของโรคลำไส้อักเสบ และโรค มะเร็งลำไส้ใหญ่ ดังนั้น การวินิจฉัยโดยทั่วไป คือ จากประวัติอาการของผู้ป่วย การตรวจร่าง กาย การตรวจอุจจาระ อาจตรวจภาพลำไส้ใหญ่ด้วยเอกซเรย์สวนแป้ง หรือ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือ บางครั้งอาจตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง ทั้งนี้ขึ้นกับอา การผู้ป่วย ความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบ และดุลพินิจของแพทย์

การดูแลตนเอง เมื่อมีอาการดังกล่าวแล้วในหัวข้อ อาการ คือ การปรึกษาแพทย์ เพราะดังกล่าวแล้วว่า เป็นอาการคล้าย โรคลำไส้อักเสบ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้เพื่อวินิจฉัยแยกโรคเหล่านั้น และเมื่อได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคลำไส้แปรปรวน การดูแลตนเอง/การพบแพทย์ ได้แก่

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ พยาบาล
  • เข้าใจในโรค ยอมรับความจริงของชีวิต รักษาสุขภาพจิต
  • สังเกต อาหาร และเครื่องดื่มต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดอาการหรือทำให้อาการรุนแรงขึ้น เพื่อการหลีกเลี่ยงหรือจำกัดปริมาณ
  • กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง กินอาหารที่ย่อยง่าย และรสไม่จัด
  • อาจลองกินอาหารในกลุ่ม โปรไบโอติก (Probiotic) เช่น โยเกิร์ต เพื่อปรับสมดุลของแบคทีเรียประจำถิ่นในลำไส้
  • ดื่มน้ำสะอาดเพิ่มกว่าเดิม ประมาณอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว เมื่อไม่มีโรคต้องจำ กัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) เพื่อชดเชยน้ำที่สูญเสียจากท้องเสีย เพื่อป้อง กันภาวะขาดน้ำ และเพื่อป้องกันท้องผูก
  • ปรึกษาแพทย์เรื่องการกินยาแก้ท้องเสียในลักษณะที่เป็นการป้องกันไว้ก่อน
  • รีบพบแพทย์ก่อนนัด เพราะแสดงว่า อาจมีโรคอื่นๆเกิดขึ้น เช่น ลำไส้อักเสบ หรือ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เมื่อ
  1. มีไข้สูง
  2. อุจจาระเป็นเลือด หรือ เป็นมูกเลือด
  3. ซีด
  4. ปวดท้องมากผิดปกติ หรือลักษณะปวดท้องผิดไปจากที่เคยเป็น