กระดานสุขภาพ

ได้กลิ่นแปลกๆ หายใจไม่ออก อาเจียน
Ikke*****e

29 เมษายน 2560 09:56:50 #1

คือนอนยุ่ละก้ตื่นมากลางดึก ได้กลินแปลกควันไฟ สลับกับกินเหม็นเหมือนไข่เน่า ได้กลิ่นยุ่คนเดียว เริ่มหายใจไม่ออก มีการอาเจียน เลยไปรพ ฉุกเฉิน แต่ดึกแล้วไม่มีหมอ เลยได้ให้น้ำเกลือ ตอนนอนยุ่ที่รพ นั้น ก้นอนเหงือแตกทั้งตัว ทั้งทีเปนห้องแอร์ พอน้ำเกลือหมด ก้ให้กลับบ้าน พร้อมกับยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ทุกวันนี้กินข้าวไม่ค่อยลงอะคะ เหมือนมีลมตลอดคอยเร่อ บาวทีก้เหมือนหายใจผิดจังหวะแต่ไม่ได้กลิ่นละนะค ะ รบกวนคุนหมอช่วยแนะนำด้วยค่ะ
อายุ: 25 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 56 กก. ส่วนสูง: 174ซม. ดัชนีมวลกาย : 18.50 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

13 พฤษภาคม 2560 04:30:45 #2

จากประวัติอาการที่ปรึกษามาในเรื่องของการได้กลิ่นผิดปกติ ไม่สามารถบอกสาเหตุได้ค่ะ แต่ในส่วนของอาการที่บอกว่ารู้สึกเหมือนมีลม ทานอาหารไม่ค่อยได้ มีคลื่นไส้อาเจียน อาจจะเป็นอาการของ อาหารไม่ย่อย หรือธาตุพิการ (Indigestion หรือ Dyspepsia) คือ อาการไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายๆอาการพร้อมกัน อาจเกิดในขณะกินอาหาร และ/หรือภายหลังกินอาหาร เช่น แน่นท้อง อึดอัด เรอ แสบร้อนกลางอก คลื่นไส้ บางครั้งอาเจียน

อาการอาหารไม่ย่อยเกิดได้จากหลายสาเหตุ ที่พบได้บ่อยที่สุดประมาณ 60%ของผู้มีอาการนี้ทั้งหมด คือ แพทย์หาสาเหตุไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยการตรวจด้วยวิธีใดๆก็ตาม ซึ่งรวมทั้งการตรวจส่องกล้องกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่ง เรียกผู้ป่วยในกลุ่มนี้ว่า Functional dyspep sia
นอกจากนั้นที่พบเป็นสาเหตุของอาการนี้ คือ
จากโรคแผลเปบติค หรือ แผลในกระเพาะอาหาร พบได้ประมาณ 15-25%
โรคกรดไหลย้อน (ไหลกลับ) หรือโรคเกิร์ด (GERD, Gastroesophageal reflux) พบได้ประมาณ 5-15%
โรค มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือโรคมะเร็งหลอดอาหาร พบได้ประมาณ น้อยกว่า 2%
นอกนั้น จากสาเหตุอื่นๆที่พบได้บ้างประปราย เช่น โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคตับอ่อนอัก เสบ โรคกระเพาะอาหารบีบตัวได้น้อย โรคขาดน้ำย่อยอาหารบางชนิด เช่น น้ำย่อยน้ำนม โรคเบาหวาน มีพยาธิลำไส้ โรคมะเร็งตับ โรคมะเร็งตับอ่อนและจากผลข้างเคียงจากยาบางชนิด เช่น ยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสดส์ (NSAIDS, Non-steroidal anti-inflammatory drug)

ปัจจัยเสี่ยงต่ออาการอาหารไม่ย่อยกลุ่มที่ไม่พบสาเหตุชัดเจน (Functional dyspepsia) ที่พบบ่อย คือ
กินอาหารปริมาณมากในแต่ละมื้อ ส่งผลให้น้ำย่อยอาหารไม่เพียงพอที่จะย่อยอาหารได้
กินอาหารไขมันมาก อาหารทอด ผัด ที่ใช้น้ำมันมาก ซึ่งอาหารไขมันเป็นอาหารย่อยยาก ตกค้างในกระเพาะอาหารและลำไส้ได้นาน
กินอาหารรสจัด จึงก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุกระเพาะอาหารและลำไส้
กินเร็ว จึงเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด อาหารจึงย่อยยาก
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุกระเพาะอาหารและลำไส้
สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ก่อการระคายเคืองต่อเยื่อเมือกบุกระเพาะอาหารและลำไส้ และกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากขึ้น
ดื่มเครื่องดื่มมีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มโคล่า เครื่องดื่มชูกำลังบางชนิด เพราะกาเฟอีนกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากขึ้น
กินอาหารกากใยอาหารสูง เพราะย่อยยาก และเป็นอาหารสร้างก๊าช/แก๊สในลำไส้
ปัญหาทางอารมณ์ จิตใจ เช่น เครียด กังวล เพราะส่งผลให้กระเพาะอาหารสร้างกรดมากกว่าปกติ และ/หรือมีการบีบตัวเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารลำไส้ผิด ปกติ

อาการจากอาหารไม่ย่อยที่พบได้บ่อย คือ
แน่น อึดอัดท้อง โดยเฉพาะบริเวณกลางช่องท้องตอนบน มักมีอาการได้ตั้งแต่ใน ขณะกินอาหาร หรือหลังกินอาหารอิ่มแล้ว
ปวดท้อง มวนท้อง แต่อาการไม่มาก โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหาร (ช่องท้องบริเวณลิ้นปี่/ตรงกลางของช่องท้องตอนบน)
แสบ ร้อน บริเวณลิ้นปี่ และ/หรือ แสบร้อนกลางอก
อาจมีคลื่นไส้ และ/หรืออาเจียนได้
อาจมีท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ และ/หรือมีแก๊สในกระเพาะอาหาร ลำไส้มาก

แนวทางการรักษาอาการอาหารไม่ย่อย คือ การรักษาตามสาเหตุ เช่น รักษาโรคแผลเปบติค หรือการปรับเปลี่ยนยาเมื่อเกิดจากผลข้างเคียงของยา เป็นต้น
แต่เมื่อแพทย์วินิจฉัยเป็นอาการอาหารไม่ย่อยจากการไม่ทราบสาเหตุ แนวทางการรักษา คือ การปรับพฤติกรรมการกินอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง การให้ยาต่างๆ เช่น ยาลดกรด ยาเพิ่มการบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ ยาช่วยย่อยอาหาร และยาขับลม/ดูดซึมแก๊สในลำไส้ ทั้งนี้ขึ้นกับอาการของผู้ป่วยและดุลพินิจของแพทย์
ถ้าอาการผู้ป่วยไม่ดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ หรือมีอาการเลวลง หรือ มีอาการผิดปกติอื่นๆ นอกเหนือไปจากอาการเดิม เช่น อุจจาระเป็นสีดำเหมือนยางมะตอย อาเจียนเป็นเลือด น้ำหนักลด แพทย์มักแนะนำการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่อการวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่นอน รวมทั้งการวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร และโรคแผลเปบติค