กระดานสุขภาพ

หมอนรองเข่าเสื่อม
Kano*****k

4 พฤศจิกายน 2559 10:12:31 #1

เลยขอห้อยตรงนี้ อายุ 49 ปี 155 cm 65 kgs

ผล MRI เข่าขวา เป็นอย่างนี้ค่ะ มีคำแนะนำอะไรไหมคะ เมื่อปีก่อน วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำ ปีนี้น้ำหนักตัวมากขึ้น เลยเจ็บเข่ามาสักพัก พอวันที่ 13 เดินเร็วข้ามถนน แล้วเหมือนเข่าพลิก เจ็บจนน้ำตาไหล แล้วเดินขึ้นบันไดด้วยขาขวาไม่ได้ แต่กินยาแก้อีกเสบสักพัก ก็เดินได้แต่ตกเย็นก็เมื่อยล้า อยากใช้ชีวิตเหมือนเดิมและขึ้นบันไดคล่องอย่างเก่า

IMPRESSION:

 There is modest amount of joint effusion with few thin supra-patellar & medial plicae.

 Mild to moderate degeneration of medial meniscus with mild degenerative tear of body, irregular tear & maceration of posterior root.

 Mild degeneration of lateral meniscus without gross tear.

 Mild sprain of ACL & PCL.

 Popliteus tendinosis.

 Mild osteoarthritis of medial compartment.

 There is irregular chondral thinning/defect about 1.5x1.8 cm with subchondral marrow signal change at medial femoral trochlear.

 No occult fracture or marrow edema

อายุ: 49 ปี เพศ: F น้ำหนัก: 65 กก. ส่วนสูง: 155ซม. ดัชนีมวลกาย : 27.06 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
นพ. ฤทธิ์ อภิญญาณกุล

แพทย์ออโธปิดิกส์

20 ธันวาคม 2559 03:38:02 #2

โดยทั่วไป ปัญหาการปวดข้อเข่าในผู้ป่วยอายุ 49 ปี เกิดได้จากหลายสาเหตุครับ จำเป็นต้องได้ข้อมูลประวัติเพิ่มเติม การตรวจร่างกายและตรวจเข่าเพื่อหาโครงสร้าง ตำแหน่ง ที่มีปัญหาหรือพยาธิสภาพอย่างละเอียด จากนั้นจึงจะพิจารณาว่าเข้าได้ หรืออธิบายภาพทางรังสีหรือภาพคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI) ได้หรือไม่ครับ

อนึ่ง หากไม่เคยมีปัญหาการบาดเจ็บเข่ามาก่อน ไม่มีการปวดข้ออื่น ๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อเข่า มีแค่อาการปวดเสียว และเดินขึ้นลงบันไดลำบาก เมื่อพิจารณาตามผล MRI ร่วมกับอายุ อาจจะวินิจฉัยได้คร่าว ๆ ว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม(Degenerative knee disease) ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติตัวและการรักษาในขั้นต้น ดังนี้ครับ

  1. หลีกเลี่ยงท่านั่งยอง นั่งขัดสมาธิ หรือพับเพียบ
  2. ปรับโถส้วม จากส้วมซึม เป็นชักโครก หรือใช้เก้าอี้ช่วย
  3. ควบคุมน้ำหนักตัว หากมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาและเกิดอาการปวดขัดข้อเข่า ก็แทบจะบอกได้ว่า น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญ
  4. การออกกำลังกล้ามเนื้อหน้าขา สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ถุงทราย หรือถุงน้ำหนัก ครึ่งถึงหนึ่งกิโลกรัม ถ่วงที่ข้อเท้า และออกแรงเหยียดเข่าจนสุด(ค้างไว้ 10-20 วินาที) ทำเซทละ 8-15 ครั้ง วันละ 10-20 เซท
  5. การใช้เครื่องออกกำลังประเภท Air walker หรือ Arc trainer สามารถทำได้เพื่อฝึกกำลังกล้ามเนื้อและลดน้ำหนักไปในตัว
  6. ใช้ไม้ค้ำยัน หรือไม้เท้า เวลาเดิน เพื่อลดการลงน้ำหนักตรงบริเวณเข่า
  7. ใช้อุปกรณ์ดามข้อเข่า(Knee brace หรือ Knee support) หากมีอาการข้อเข่าหลวม หรือไม่มั่นคงร่วมด้วย
  8. ใช้การประคบอุ่นตรงบริเวณที่ตึง และประคบน้ำแข็งหากมีอาการข้อเข่าบวม
  9. พบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมหากอาการไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การฝืนงอเข่ามาก ๆ อาจจะทำให้ปวดข้อเข่า และเข่าบวมจากการอักเสบ มากขึ้นได้
การนวดรีดเส้น หรือการนวดกดจุด หรือการนวดแผนไทย สามารถลดอาการตึงของกล้ามเนื้อหน้าขา และอาการตึงข้อพับเข่า ได้บ้าง แต่ถ้าหากมีการกดหรือเค้นบริเวณข้อมาก ๆ จะทำให้เกิดการอักเสบและเข่าบวมขึ้นได้