กระดานสุขภาพ

พี่เป็นวัณโรคปอดมีโอกาสติดชื้อไหมครับ
Anonymous

11 ตุลาคม 2560 01:28:26 #1

คือก่อนหน้านั้นผมไปเล่นห้องพี่ อาหารของพี่ป่าวไม่รู้ ผมกินเข้าไปครับ มันจะติดเชื้อไหม พอเดือนสิงหาคมที่แล้ว อาการผมคล้ายลำไส้แปรปรวน มีโอกาสเป็นไหมครับ น้ำหนักลดด้วย จากเดิมประมาณ90 ตรวจเลือดก็ปกติ วันที่4ตุลาคม ก่อนหน้านั้นช่วงเดือนสิงหาคมมีติ่งออกมาครับ เดือนกันยาเหมือนรูสึกถ่ายเป็นเลือดสีดำ เจ็บรูทวาร รู้สึกครั้งเดียว สักพักผ่านไป ท้องก็เกร็ง ไม่สบายที่ท้อง หลายวัน ผมหาสาเหตุไม่ได้ อุจจาระออกน้อย ไม่สุด ไม่หมด เหมือนหูรูดทวารเกร็งมีติ่งเนื้อด้วย รํสึกเหมือนบวมขอบทวารครับ จนวันนี้อาการท้องเกร็งถ่ายยากหย่อยครับ เกี่ยวหูรูดไหมครับ ผมจะติดเชื้อวัณโนคของพี่ไหม ที่ทำให้ผมเป็นโรคลำไส้หรือไรอ่ะครับ มีโอกาสเป็นไหมครับ ตรวจหาเชื้อไงครับ ผมตรวจเลือดก็ปกติครับ 4ต.ค น้ำหนักเหมือนลดลง เพราะผมไม่ได้ชั่งนานหลายเดือนล่ะครับ ขอบคุณครับ
อายุ: 20 ปี เพศ: M น้ำหนัก: 83 กก. ส่วนสูง: 180ซม. ดัชนีมวลกาย : 25.62 (ค่ามาตรฐานคนเอเชีย=18.5-22.9)
Anonymous

11 ตุลาคม 2560 03:11:19 #2

คือมีมูกสีน้ำตาลตอนถ่ายครับคือไรครับ
พญ.กิติพร กวียานนท์

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว/เวชศาสตร์ทั่วไป

12 ตุลาคม 2560 15:36:59 #3

ขออนุญาติตอบคำถามเป็นสองประเด็นค่ะ เรื่องแรกคือเรื่องของวัณโรคปอดนะคะ

วัณโรค (Tuberculosis) หรือทั่วไปมักเรียกย่อว่า โรคทีบี (TB) เป็นโรคติดเชื้อเรื้อรังที่ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Mycobacterium Tuberculosis บางครั้งเรียกว่า เอเอฟบี (AFB, acid fast bacilli) ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่การอักเสบจากเชื้อวัณโรคจะเกิดในปอดที่เรียกว่า วัณโรคปอด แต่ก็สามารถเกิดโรคที่อวัยวะอื่นได้เกือบทุกอวัยวะในร่างกายเช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง และลำ ไส้ ในสมัยก่อนผู้ป่วยวัณโรคส่วนใหญ่จะเสียชีวิต แต่ในปัจจุบันวัณโรคสามารถรักษาด้วยยาจน หายขาดได้

วัณโรคเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คนทางการหายใจ โดยเชื้อวัณโรคจะแพร่จากผู้ป่วยวัณโรค ปอดไปสู่ผู้อื่นทางละอองเสมหะขนาดเล็กๆซึ่งออกมาจากการไอ จาม หรือพูด ละอองเสมหะเหล่านี้จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้หลายชั่วโมง และเมื่อสูดเข้าไปจะเข้าไปจนถึงถุงลมปอด แล้วเกิดการอักเสบได้ ในการไอ 1 ครั้งอาจพบมีละอองเสมหะออกมาถึง 3,000 ละอองเสมหะ
โอกาสของการแพร่เชื้อวัณโรคขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยคือ

1. ลักษณะของวัณโรคปอดคือ ถ้าเป็นวัณโรคปอดชนิดที่มีโพรง (เนื้อปอดเกิดเป็นโพรงซึ่งติดต่อกับหลอดลมได้ดี จึงทำให้ตรวจพบเชื้อในเสมหะได้สูง) ซึ่งมักจะตรวจพบเชื้อในเสมหะ จะมีการแพร่เชื้อวัณโรคออกทางเสมหะมาก แต่ในผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอดชนิดไม่มีโพรง (โอกาส ตรวจพบเชื้อในเสมหะลดลง) หรือผู้ป่วยที่ย้อมเสมหะไม่พบเชื้อจะมีการแพร่เชื้อน้อยกว่า และในผู้ ป่วยวัณโรคนอกปอดเช่น วัณโรคในต่อมน้ำเหลืองและวัณโรคในเยื่อหุ้มปอด จะไม่มีการแพร่เชื้อ

2.การอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคปอดในสภาพแวดล้อมที่ปิดทึบ การระบายอากาศไม่ดี ไม่ โดนแสงแดด โอกาสจะติดเชื้อวัณโรคจะสูงขึ้น เพราะเชื้อวัณโรคที่อยู่ในละอองเสมหะจะถูกทำ ลายได้เมื่อโดนแสงแดดและความร้อน

3.วัณโรคจะไม่ติดต่อทางการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ หรือสัมผัส และในผู้ป่วยวัณโรค ปอดที่ได้รับยาวัณโรค ส่วนใหญ่จะไม่แพร่เชื้อเมื่อทานยาเกิน 2 อาทิตย์ไปแล้ว

ในระยะแรกหลังจากเชื้อวัณโรคเข้าในร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะไม่มีอาการและไม่สามารถตรวจ พบได้ว่าติดเชื้อหรือไม่ จนถึงประมาณหลังจาก 4 อาทิตย์ ร่างกายจะเริ่มมีปฏิกริยาต่อเชื้อวัณโรค โดยส่วนใหญ่ ระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในคนปกติจะสามารถควบคุมเชื้อวัณโรคให้สงบนิ่งอยู่ เรียกว่า อยู่ในระยะแฝง ซึ่งจะไม่มีอาการของโรคและไม่แพร่เชื้อ แต่ในผู้ป่วยเด็กเล็กหรือผู้มีภูมิ คุ้มกันต้านทานโรคบกพร่องเช่น ผู้ป่วยโรคเอดส์ (AIDS) อาจไม่สามารถควบคุมเชื้อวัณโรคให้สงบได้ จึงเกิดโรควัณโรคปฐมภูมิ (Primary tuberculosis คือ วัณโรคที่แสดงอาการตั้งแต่ครั้งแรกที่ติดเชื้อ โดยไม่มีการอยู่ในระยะแฝง) เช่น วัณโรคเยื่อหุ้มปอดหรือวัณโรคต่อมน้ำเหลืองได้ ทั้งนี้ เชื้อ วัณโรคที่อยู่ในระยะแฝงจะสงบอยู่จนมีปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอจึงเกิดโรควัณโรคปอดขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการปะทุของวัณโรคที่สงบนิ่งได้แก่ โรคเบาหวาน ภาวะขาดสารอาหาร การได้รับยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกันต้านทานโรคเช่น ในโรคภูมิแพ้ และในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์ ทั้งนี้โดยประมาณ 5% ของผู้ป่วยวัณโรคระยะแฝง จะมีโอกาสเกิด โรควัณโรคปอดในสองปีแรกและอีก 5% จะเกิดโรคภายในสิบปี

อาการสำคัญของวัณโรคปอดคือ ไอเรื้อรังโดยเฉพาะอาการไอที่เกิดขึ้นนานกว่า 3 สัปดาห์ ขึ้นไป โดยจะเริ่มจากไอแห้งๆ ต่อมาจะมีเสมหะจนอาจมีไอเป็นเลือดได้ อาการอื่นๆที่พบได้บ่อยคือ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเหงื่อออกกลางคืน

การป้องกันวัณโรคและการพบแพทย์ได้แก่

1.รักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกายพักผ่อนให้พอเพียง กินอาหารที่มีประ โยชน์ ไม่ใช้ยาเสพติด หลีกเลี่ยงความเสี่ยงการติดโรคเอดส์ (รักษาสุขอนามมัยพื้นฐาน/สุขบัญ ญัติแห่งชาติ) และควรตรวจสุขภาพและเอ็กซเรย์ปอดเป็นประจำทุกปี

2.ถ้ามีผู้ป่วยวัณโรคอยู่ในบ้าน ควรดูแลให้ทำตามข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยวัณโรคดังกล่าว ในหัวข้อ ผู้ป่วยวัณโรคควรปฏิบัติอย่างไร อย่างเคร่งครัด

3.ฉีดวัคซีนบีซีจี (BCG) ให้ทารกแรกเกิดทุกราย วัคซีนชนิดนี้มีผลในการป้องกันวัณโรค ชนิดรุนแรงในเด็กเล็ก แต่ไม่สามารถป้องกันวัณโรคปอดในผู้ใหญ่ ผู้ที่เคยฉีดบีซีจีมาแล้วก็ยังมี โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นวัณโรคปอดได้

4.ถ้ามีอาการผิดปกติที่สงสัยว่าจะเป็นวัณโรคเช่น ไอเรื้อรัง มีไข้ เจ็บหน้าอก เหงื่อออก กลางคืน เหนื่อยหอบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ควรรีบพบแพทย์เสมอ

ประเด็นที่สองในเรื่องของ การชับถ่ายอุจจาระมีเลือดปน มีก้อนหรือติ่งเนื้อยื่นออกจากทวารหนัก มีอาการเจ็บเวลาขับถ่าย น่าจะเป็นในเรื่องของ ริดสีดวงทวาร หรือ การมีแผลบริเวณรอบรูทวารค่ะ แนะนำให้พบแพทย์รักษาค่ะ และตรวจร่างกายอีกครั้ง