'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 2)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 16 สิงหาคม 2556
- Tweet
ออทิสติก (Autistic) เป็น 1 ใน 3 ของอาการผิดปกติในการรับรู้ในช่วงอาการออทิสซึ่ม (Autism spectrum) (ASDs) และอีก 2 ชนิดอยู่ในกลุ่มอาการแอสเปอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ซึ่งขาดพัฒนาการและภาษาของการเรียนรู้ และความผิดปกติในการพัฒนาแบบรอบด้าน (Pervasive developmental disorder, not otherwise specified) มักเขียนเป็นคำย่อว่า PDD-NOS)
ออทิสติกมีพื้นฐานจากกรรมพันธุ์ (Genetics) แม้ว่าพันธุกรรมของออทิสติกจะซับซ้อนและยังไม่แน่ชัด ออทิสติกได้รับการอธิบายว่าอาจเกิดจากการกลายพันธุ์ (Mutation) หรือโดยการรวมกันของ จีน/ยีน (Gene) ทั่วไปที่กลายพันธุ์ ส่วนกรณีที่ไม่พบบ่อย คาดว่าออทิสติกเกี่ยวข้องกับสารซึ่งเป็นสาเหตุความบกพร่องแต่กำเนิด (Birth defects) อย่างแรง
มีการถกเถียงโดยทั่วๆ ไปว่าสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่คาดว่าเป็นสาเหตุอย่างเช่น โลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือวัคซีนที่ฉีดในเด็กเล็ก ทฤษฎีเรื่องวัคซีนยังไม่น่าเป็นไปได้ทางชีววิทยาและขาดหลักฐานที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อถือ อุบัติการณ์ของออทิสติกเกิดขึ้นประมาณ 1-2 รายต่อประชากร 1,000 คน ทั่วโลก
ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (Centers for Disease Control and Prevention : CDC) ในสหรัฐอเมริกา รายงานว่ามี 20 รายต่อเด็กอเมริกันน 1,000 คนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งเพิ่มจาก 11 ราย/1,000 คน ในปี พ.ศ. 2511 ตัวเลขของประชากรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติกได้เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523
โดยปกติ ผู้ปกครองจะสังเกตอาการได้ใน 2 ขวบปีแรกของชีวิตวัยเด็ก อาการปกติจะพัฒนาทีละน้อย แต่เด็กออทิสติกบางคนจะพัฒนาตามปกติในช่วงแรก หลังจากการพัฒนาก็จะถดถอยลง การเสริมสร้างพฤติกรรมในช่วงต้น มีทั้งการเรียนรู้ หรือการพูด สามารถช่วยให้เด็กออทิสติกมีทักษะในการดูแลตัวเอง การเข้าสังคม และการสื่อสารได้
ในปัจจุบัน แม้ว่าจะยังไม่รู้วิธีรักษา แต่ก็มีรายงานในกรณีของเด็กที่กลับมาเป็นปกติได้ มีเด็กออทิสติกไม่มากนักที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวหลังจากเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แม้ว่าจะมีบางคนสามารถอยู่อย่างโดเดี่ยวได้ก็ตาม วัฒนธรรมของออสทิสติก (Autistic culture) ได้รับการพัฒนามาตลอด โดยบางคนแสวงหาวิธีรักษา แต่บางคนก็เชื่อว่า ควรยอมรับในความแตกต่าง แต่ไม่ควรถือว่าเป็นความบกพร่อง
ออทิสติกเป็นความผิดปกติในการพัฒนาระบบประสาทที่ผันแปรอย่างสูง ซึ่งปรากฏอาการช่วงวัยทารกหรือวัยเด็กและโดยทั่วๆ ไปก็จะมีอาการสม่ำเสมอโดยไม่มีการลดน้อยถอยลง อาการชัดเจนจะปรากฏทีละน้อยหลังจากอายุได้ 6 เดือน และกลายเป็นเด็กออทิสติกเมื่ออายุ 2-3 ปี และต่อไปจนถึงผู้ใหญ่
แม้ว่าจะอยู่แบบเงียบๆ และไม่ได้เห็นอาการใดอาการหนึ่งเด่นชัด แต่จะมีลักษณะพิเศษ (Characateristics) 3 ประการ กล่าวคือ (1) บกพร่องในการเข้าสังคม (2) บกพร่องในการสื่อสาร และ (3) มีพฤติกรรมซ้ำๆและความสนใจที่จำกัด ความคาดหวังอย่างอื่น เช่น การกินที่ไม่เป็นระเบียบซึ่งเป็นธรรมดามาก แต่ไม่มีความสำคัญสำหรับการวินิจฉัยและไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนของอาการรุนแรงจากอาการธรรมดา
แหล่งข้อมูล:
- มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV [2013, August 15].
- Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism [2023, August 15].