ยูเรีย สารยูเรีย (Urea)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 4 กันยายน 2556
- Tweet
ยูเรีย สารยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ที่เหลือจากร่างกายใช้โปรตีน โดยเป็นของเสียที่ร่างกายกำจัดออกทางไต (ทางปัสสาวะ) ซึ่งส่วนประกอบสำคัญของยูเรีย คือ ไนโตรเจน (ในรูปแบบของแอมโมเนีย ซึ่งทำให้กลิ่นของปัสสาวะเป็นกลิ่นของแอมโมเนีย) ที่นำมาใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชได้
แอมโมเนีย หรือ ไนโตรเจนในร่างกายที่เหลือจากร่างกายใช้โปรตีนนี้ จะถูกสร้างเป็นยู เรียในตับ และขับออกทางไต โดยปริมาณยูเรียในเลือด ช่วยบอกถึงประสิทธิภาพการทำงานของไตได้ แพทย์จึงใช้การตรวจเลือดเพื่อหาปริมาณยูเรีย ที่เรียกว่า ตรวจหาค่า บียูเอน (BUN, Blood urea nitrogen) เพื่อช่วยตรวจการทำงานของไต ช่วยประเมินผล และช่วยติดตามผล การรักษาในโรคไต ซึ่งค่าบียูเอนปกติ จะประมาณ 6-20 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แต่ทั้งนี้ขึ้นกับเทค นิคการตรวจของแต่ละห้องปฏิบัติการด้วย
กรณีมีโรคของตับจะส่งผลให้มีแอมโมเนียคั่งในเลือดมากขึ้น เพราะตับไม่สามารถเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นยูเรียได้ ซึ่งแอมโมเนียจะเป็นพิษต่อเซลล์สมอง ดังนั้นเมื่อมีโรคตับรุนแรง จะส่งผลให้เกิดอาการทางสมอง ที่เรียกว่า Hepatic encephalopathy เช่น สับสน กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ โคม่า และอาจเสียชีวิตได้
บรรณานุกรม
- Blood urea nitrogen http://www.cigna.com/ [2013,July26].
- Urea http://en.wikipedia.org/wiki/Urea [2013,July26].
- Urea cycle https://en.wikipedia.org/wiki/Urea_cycle [2013,July26].
- Blood urea nitrogen https://en.wikipedia.org/wiki/Blood_urea_nitrogen [2013,July26].