ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่ (ตอนที่ 7)

ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่-7

การดูแลเด็กที่บ้าน

  • แสดงความรักต่อเด็กด้วยการยิ้ม กอด ตบไหล่
  • ใช้เวลาร่วมกับเด็กเฉพาะ โดยไม่มีคนอื่นมาแทรก พยายามให้ทัศนคติที่ดีกับเด็กทุกวัน
  • หาวิธีที่จะพัฒนาความพึงพอใจในตัวเองและการมีวินัยของเด็ก เช่น การเล่นดนตรี การเต้นรำ การเล่นคาราเต้หรือเทควันโด
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นระเบียบให้เด็ก เพราะเด็กเหล่านี้จะมีปัญหาในการจัดการกับความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นจึงควรทำอะไรให้คุ้นเคยและให้เขารู้สึกปลอดภัย
  • จัดเวลาให้เป็นตารางประจำ เช่น เวลากินข้าว เวลานอน
  • ให้เด็กได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะอาการเหนื่อยเพลียจะทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นแย่ลง
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ยุ่งยากสำหรับเด็ก เช่น การให้เด็กนั่งดูเป็นเวลานานๆ การช้อปปิ้งในห้างที่มีของเรียงรายเต็มไปหมด
  • อดทนและจัดการกับเด็กด้วยอารมณ์ที่สงบ (Calm) เพราะหากเราสงบ เด็กก็มักจะเลียนแบบพฤติกรรมที่สงบนั้นด้วย
  • พยายามหยุดตัวเองเป็นพักๆ เพราะหากผู้ปกครองเครียดและเหนื่อยเกิน ก็อาจจะทำให้การดูแลเด็กไร้ประสิทธิผล

การดูแลเด็กที่โรงเรียน

  • หาโปรแกรมการเรียนสำหรับเด็ก
  • คุยกับครูที่โรงเรียนเพื่อหาทางช่วยเด็กในเรื่องการเรียน

สำหรับการป้องกันหรือลดความเสี่ยงของโรคสมาธิสั้นในเด็กมีดังนี้

  • ระหว่างการตั้งครรภ์ – พยายามหลีกเลี่ยงทุกอย่างที่อาจมีผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ เช่น ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ สารเสพติด
  • ป้องกันเด็กจากมลภาวะและสารพิษ เช่น ควันบุหรี่ สารตะกั่ว
  • จำกัดเวลาในการอยู่หน้าจอในช่วง 5 ปีแรกของชีวิต เช่น การดูโทรทัศน์ การเล่นวีดีโอเกมส์

สำหรับโรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่ (Adult attention-deficit/hyperactivity disorder) นั้นเป็นผลต่อเนื่องมาจากโรคสมาธิสั้นในวัยเด็ก โดยเด็กที่เป็นจะมีอาการต่อเนื่องมาจนถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งบางครั้งอาจตรวจไม่พบหรือไม่ทราบว่าเป็นจนกว่าจะโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะจะมีอาการจะไม่ชัดเจนเหมือนในเด็ก

โรคสมาธิสั้นในผู้ใหญ่สามารถเป็นสาเหตุให้มีความสัมพันธ์ที่ไม่คงเส้นคงวา (Unstable relationships) การทำงานหรือการเรียนที่แย่ ความพึงพอใจในตัวเองต่ำ หรือมีปัญหาอื่นๆ

แหล่งข้อมูล:

  1. Attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) in children. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/home/ovc-20196177 [2017, August 11].
  2. Adult attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD). http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adult-adhd/home/ovc-20198864/262809.php [2017, August 11].
7