ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่ (ตอนที่ 5)

ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่-5

อาการของโรคสมาธิสั้นมักเริ่มปรากฏตั้งแต่เด็กอายุก่อน 12 ปี ปัจจุบันยังมีการทดสอบเฉพาะสำหรับโรคนี้ ส่วนใหญ่การวินิจฉัยโรคมักทำได้ด้วยการใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น

  • ตรวจร่างกาย
  • เก็บข้อมูล เช่น ประวัติครอบครัว ประวัติที่โรงเรียน
  • การสัมภาษณ์หรือตอบแบบสอบถามของสมาชิกในครอบครัว ครูผู้สอน หรือคนที่รู้จักเด็ก เช่น พี่เลี้ยง
  • เทียบเคียงกับเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช DSM-5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychiatric Association)
  • การทำตารางการให้คะแนน (ADHD rating scales) เพื่อรวบรวมและประเมินข้อมูลของเด็ก

ทั้งนี้ การวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นในเด็กเล็กอาจทำได้ยาก เพราะอาจมีปัญหาเรื่องพัฒนาการที่ล่าช้าหรือโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกับโรคสมาธิสั้น เช่น

  • ัญหาเรื่องการเรียนหรือภาษา
  • ความผิดปกติด้านอารมณ์ เช่น ซึมเศร้าหดหู่ หรือ วิตกกังวล
  • โรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders) อื่นๆ
  • ชักผิดปกติ (Seizure disorders)
  • มีปัญหาเรื่องการเห็นหรือการได้ยิน
  • กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome)
  • มีปัญหาทางร่างกายที่มีผลต่อความคิดหรือพฤติกรรม
  • ความผิดปกติด้านการนอน (Sleep disorders)
  • ปัญหาไทรอยด์
  • การใช้สารเสพติด (Substance abuse)
  • สมองได้รับบาดเจ็บ

การดูแลเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีทั้งการให้ยา การให้การศึกษา การฝึกหัด และการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ของโรค แต่จะไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทั้งนี้อาจต้องใช้เวลานานพอสมควรในการที่จะดูว่าวิธีไหนที่เหมาะกับเด็กแต่ละคน

โดยปัจจุบัน ส่วนใหญ่นิยมให้ยากลุ่ม Psychostimulants ในการกระตุ้นและทำให้สารสื่อประสาทในสมอง (Neurotransmitters) อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้นช่วงหนึ่ง โดยตัวอย่างของยากลุ่มนี้ ได้แก่

  • ยา Amphetamines เช่น ยา dextroamphetamine ยา dextroamphetamine-amphetamine และ ยา lisdexamfetamine
  • ยา Methylphenidates เช่น ยา methylphenidate และ ยา dexmethylphenidate

แหล่งข้อมูล:

  1. Attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) in children. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/home/ovc-20196177 [2017, August 9].
7