ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่ (ตอนที่ 4)

ไฮเปอร์แต่เด็กยันแก่-4

สำหรับปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคสมาธิสั้น ได้แก่

  • ความสัมพันธ์ทางสายเลือด เช่น มีพ่อแม่หรือญาติเป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีอาการผิดปกติทางจิต (Mental health disorder) อื่นๆ
  • สัมผัสกับสารพิษ เช่น สารตะกั่ว ที่ส่วนใหญ่จะพบในสีและท่อน้ำของอาคารเก่าๆ
  • การใช้ยาเสพติด การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ ระหว่างการตั้งครรภ์
  • การคลอดก่อนกำหนด
  • น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย
  • การได้รับบาดเจ็บที่สมอง (Brain injury)

และแม้ว่าจะมีการสงสัยกันว่า น้ำตาลเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคสมาธิสั้น แต่จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่หลักฐานที่น่าเชื่อถืออย่างชัดเจน

อาการแทรกซ้อนของโรคสมาธิสั้นสามารถก่อปัญหาความยุ่งยากให้กับเด็กได้ เช่น

  • มักพบปัญหาในชั้นเรียน เช่น สอบตก
  • เกิดอุบัติเหตุและได้รับบาดเจ็บบ่อยกว่าเด็กปกติ
  • มีความพึงพอใจในตัวเองที่ต่ำ
  • มีปัญหาในการคบและการได้รับความยอมรับจากเพื่อนฝูงและผู้ใหญ่
  • มีความเสี่ยงสูงในการติดเหล้า ติดยา และมีพฤติกรรมที่เป็นอันธพาล

แม้โรคสมาธิสั้นจะไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาเรื่องจิตหรือปัญหาในพัฒนาการ แต่เด็กที่สมาธิสั้นมักจะมีอาการดังต่อไปนี้มากกว่าคนปกติ

  • ความบกพร่องในการเรียนรู้ (Learning disabilities) รวมถึงปัญหาเรื่องความเข้าใจและการสื่อสาร
  • โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้วิตกกระวนกระวายใจมากเกินไป
  • โรคซึมเศร้าหดหู่ (Depression) ซึ่งพบบ่อยในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
  • โรคความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ (Disruptive mood dysregulation disorder) ซึ่งมักจะขึ้หงุดหงิด และมีปัญหาเรื่องความคับข้องใจ
  • โรคดื้อและต่อต้าน (Oppositional defiant disorder = ODD)
  • ความประพฤติผิดปกติ เกเร (Conduct disorder) มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม เช่น ขี้ขโมย ท้าตีท้าต่อย ทำลายข้าวของ ทำร้ายคนและสัตว์
  • โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) ซึ่งมีทั้งอาการหดหู่ซึมเศร้าและอาการคลุ้มคลั่ง
  • กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette syndrome) ซึ่งเป็นความผิดปกติทางระบบประสาทชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยอาการกระตุกเร็ว ๆ ของกล้ามเนื้อมัดย่อย ๆ (Motor Tics) ที่บริเวณใบหน้า คอ ไหล่ เช่น เด็กอาจจะขยิบตา กระตุกมุมปาก ยักไหล่ สะบัดคอ เปล่งเสียงแปลก ๆ (Vocal Tics) ทำเสียงกระแอม เสียงฟุตฟิตทางจมูก เสียงคล้ายสะอึก

แหล่งข้อมูล:

  1. Attention-deficit/hyperactivity disorder (ADHD) in children. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/adhd/home/ovc-20196177 [2017, August 8].
  2. ADHD: Hyperactive-Impulsive Type. http://www.webmd.com/add-adhd/guide/adhd-hyperactive-impulsive-type#1 [2017, August 8].
  3. What Is Attention Deficit Hyperactivity Disorder? http://www.webmd.com/add-adhd/guide/attention-deficit-hyperactivity-disorder-adhd#1 [2017, August 8].
7