ไข้ดำแดง (ตอนที่ 3)

ไข้ดำแดง

นอกจากนี้ไข้ดำแดงอาจเป็นสาเหตุให้เกิดไข้รูมาติก (Rheumatic fever) ที่มีผลร้ายแรงต่อ

  • หัวใจ
  • ข้อต่อ
  • ระบบสมอง
  • ผิวหนัง

การวินิจฉัยโรคทำได้ง่ายด้วยการกวาดคอ (Throat swab) เพื่อตรวจหาเชื้อ และบางทีอาจทำการตรวจเลือดด้วย

ส่วนการรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic) เพื่อกำจัดเชื้อ โดยยาที่ใช้อาจได้แก่

  • Penicillin
  • Amoxicillin
  • Azithromycin
  • Clarithromycin
  • Clindamycin
  • Cephalosporin

ถึงแม้ว่าหลังจากกินยา 24 ชั่วโมง อาการจะดีขึ้น ก็จำเป็นต้องกินยาให้ครบโด้ส (ประมาณ 10 วัน)

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคไข้ดำแดง การป้องกันสามารถปฏิบัติตามมาตราฐานการป้องกันการติดเชื้อทั่วไป กล่าวคือ

  • ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
  • อย่าใช้ภาชนะ แก้วน้ำ หรือกินอาหารร่วมกัน
  • ปิดปากและจมูกเมื่อไอหรือจาม
  • ล้างภาชนะ ของเล่น ให้สะอาด

สำหรับการดูแลเด็กเพื่อลดอาการปวดและไม่สบายตัวทำได้ด้วยการ

  • ใช้ยาลดไข้แก้ปวด
  • ให้ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยให้คอชุ่มชื่นและป้องกันภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • กลั้วคอด้วยน้ำเกลือ เพื่อลดอาการเจ็บคอ
  • อมยาอมแก้เจ็บคอ
  • ให้กินอาหารเหลว เช่น ซุป
  • หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่

แหล่งข้อมูล

1. Scarlet fever. http://www.nhs.uk/conditions/Scarlet-fever/Pages/Introduction.aspx [2017, April 19].

2. Scarlet fever. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scarlet-fever/basics/definition/con-20030976 [2017, April 19].

3. Scarlet Fever: Causes, Symptoms, and Treatments. http://www.medicalnewstoday.com/articles/176242.php [2017, April 19].