โรคไข้จับสั่น (Malaria) หรืออีกหลายๆชื่อ คือ ไข้ป่า ไข้ป้าง ไข้ร้อนเย็น ไข้ดอกสัก แต่นิยมเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า โรคมาลาเรีย ในภาษาอังกฤษ คำว่า malaria มาจากภาษาอิตาลี แปลว่า อากาศไม่ดี เพราะโรคนี้มักพบในเขตภูมิอากาศร้อนชื้นที่มีฝนตกชุก ทำให้มีแหล่งน้ำขังตามธรรมชาติมาก เป็นที่อยู่อาศัยของยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะนำโรคนี้มาสู่คน
โรคไข้จับสั่นเกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว/Protozoa (พยาธิ หรือสัตว์เซลล์เดียว) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ หนาวสั่น บางครั้งโรคอาจรุนแรง ถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ โรคนี้มียารักษาและมียาสำหรับป้องกัน
การระบาดของโรคมาลาเรีย พบในประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น ประเทศในเขตร้อน และกึ่งเขตร้อน โดยพบในทวีปแอฟริกามากที่สุด นอกจากนี้ พบในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ อินเดีย เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมทั้งประเทศไทย
จำนวนประชากรที่ติดเชื้อมาลาเรียทั่วโลก ขณะนี้มีประมาณ 300 -500 ล้านคน และมีผู้ เสียชีวิตประมาณ 1 - 3 ล้านคนต่อปี โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ต้องประกาศให้โรคมาลาเรีย เป็น 1 ใน 4 โรคที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน นอกเหนือจาก โรคเอดส์ โรคไข้เลือดออก และโรควัณโรค
ในประเทศไทย ปี 2553 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยมาลาเรียทั้งหมด 45,629 ราย เป็นชาวไทย18,371 ราย และต่างชาติ 27,257 ราย จังหวัดที่พบผู้ป่วยมากที่สุด คือ ตาก ที่พบรองๆลงไป เช่น แม่ฮ่องสอน เชียงราย กาญจนบุรี เพชรบุรี ตราด ระนอง ชุมพร พังงา ยะลา นราธิวาส สง ขลา และประจวบคีรีขันธ์ ส่วนจังหวัดอื่นๆพบได้น้อย และยังไม่พบการระบาดในกรุงเทพฯ
โรคมาลาเรีย เกิดจากการติดเชื้อโปรโตซัว ชื่อ พลาสโมเดียม (Plasmodium) ซึ่งเชื้อที่ก่อโรคในคนมีอยู่ 4 ชนิด (Species) คือ
เชื้อมาลาเรียทุกชนิดมีวงจรชีวิตอยู่ 2 วงจร คือ วงจรชีวิตในยุง และวงจรชีวิตในคน โดยเริ่มต้นจากยุงที่มีเชื้อมาลาเรีย ดูดเลือดคน ยุงจะปล่อยเชื้อที่มีอยู่ในน้ำลายของยุงเข้าสู่กระแสเลือดคน เมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดคนแล้วประมาณ 30 นาที เชื้อจะเข้าสู่เซลล์ตับ และแบ่งตัวจนได้เซลล์ลูกมากมาย และทำให้เซลล์ตับแตก เซลล์ลูกๆเหล่านี้ก็จะเข้าสู่กระแสเลือด (ซึ่งตอนนี้นี่เองที่เริ่มปรากฏอาการของไข้จับสั่น) โดยเซลล์ลูกๆจะเข้าไปอยู่ในเม็ดเลือดแดง และเปลี่ยนรูปร่าง พร้อมกับแบ่งตัวเพิ่มจำนวนจนกระทั่งเซลล์เม็ดเลือดแดงแตก เชื้อที่แตกออกมา ก็จะหาเซลล์เม็ดเลือดแดงเซลล์ใหม่ เข้าไปอยู่อาศัยและแบ่งตัวต่อๆไป จนแตกอีกครั้ง เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ
นอกจากนี้ มีบางเซลล์ที่เปลี่ยนรูปร่างไปเป็นเซลล์ที่มีเพศผู้ หรือเพศเมียของเชื้อ จะสามารถติดต่อกลับไปสู่ยุงได้ เมื่อมียุงมาดูดเลือดของคนที่มีเชื้อ เชื้อรูปร่างแบบมีเพศนี้ ก็จะผสมพันธุ์กันในยุง และให้กำเนิดตัวอ่อน เติบโตขึ้นโดยอาศัยอยู่ที่ต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะติดต่อสู่คนต่อไป
ยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียนี้ คือยุงก้นปล่องเพศเมีย ซึ่งเวลากัดคน จะยกก้นขึ้นทำมุมกับผิวหนัง 45 องศา ในประเทศไทยมียุงก้นปล่อง 2 ชนิด ชนิดแรก ชนิด Anopheles dirus พบในป่าทึบ วางไข่ในแอ่งน้ำนิ่ง ชอบกินเลือดคนมากกว่าเลือดสัตว์อื่น ชนิดที่สอง ชนิด Anopheles minimus พบตามชายป่า วาง ไข่ในลำธารที่มีน้ำใส ไหลเอื่อยๆ
นอกจากคนจะติดเชื้อมาลาเรียมาจากยุงแล้ว อาจพบการติดเชื้อโดยบังเอิญ (Accidental transmission)จากการได้รับเลือด หรือการใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้เสพยาเสพติด แต่พบจากโอกาสเหล่านี้ได้น้อยมาก
ระยะฟักตัวของโรคมาลาเรีย คือ ตั้งแต่ถูกยุงก้นปล่องกัดจนกระทั่งเกิดอาการ โดยทั่วไปใช้เวลา 10 - 14 วัน แต่อาจนานถึง 4 สัปดาห์ได้ อาการที่ปรากฏเริ่มแรกจะไม่จำเพาะ อาจคล้ายโรคไข้หวัดทั่วไป ได้แก่ รู้สึกไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว อ่อนเพลีย ปวดท้อง คลื่นไส้ อา เจียน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดข้อ และปวดศีรษะ ซึ่งบางคนอาการปวดศีรษะอาจรุนแรงได้
หลังจากนั้นจะเริ่มมีไข้สูง และประมาณ 6 - 7 วัน ไข้จะเริ่มเกิดเป็นเวลา โดยถ้าเป็นเชื้อ Plasmodium vivax และ Plasmodium ovale จะทำให้เกิดไข้ทุกๆ 2 วัน ในขณะที่เชื้อ Plasmodium malariae จะทำให้เกิดไข้ทุกๆ 3 วัน ส่วนเชื้อ Plasmodium falciparum มักไม่ค่อยมีไข้เป็นเวลา แต่ถ้าเป็นเวลาก็จะเป็นทุกๆ 2 วัน การที่มีไข้เป็นเวลา เพราะเป็นไปตามระ ยะเวลาที่เชื้อแต่ละชนิดใช้ในการแบ่งตัวจนเต็มเซลล์เม็ดเลือดแดง จนกระทั่งแตกออก ซึ่งช่วงที่เม็ดเลือดแดงแตกออกนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการที่จำเพาะของโรคมาลาเรีย ประกอบด้วย
อนึ่ง ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรียตลอดทั้งปี มีความชุกของโรคสูงมาก และเคยมีการติดเชื้อมาลาเรียบ่อยๆ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody) ที่จำเพาะต่อโรคมาลาเรีย ภูมิคุ้มกันชนิดนี้ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อมาลาเรีย แต่ช่วยป้องกันไม่ให้โรคมีความรุนแรงเมื่อติดเชื้อซ้ำอีก ผู้ป่วยเหล่านี้มักตรวจพบมีม้ามโต และในเด็กมักพบภาวะโลหิตจาง(ภาวะซีด) แต่บางคนตรวจพบเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือด โดยที่ไม่มีอาการปรากฏเลยก็มี
เนื่องจากอาการของโรคมาลาเรียในวันแรกๆจะไม่จำเพาะ อาการไข้ยังไม่จับเป็นเวลา และบางครั้งก็อาจไม่จับเป็นเวลาเลยก็ได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่มีไข้ ร่วมกับมีประวัติว่าอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคมาลาเรีย หรือได้เคยเดินทางไปยังพื้นที่เหล่านั้น จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า อาจติดเชื้อมาลาเรียมา และต้องส่งเลือดไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันการวินิจฉัย ซึ่งได้แก่
อนึ่ง วิธีการตรวจทั้ง 2 วิธีข้างต้นนี้ มีความไวของการตรวจไม่มาก จึงเกิดผลลบลวง(ตรวจไม่พบโรค ทั้งๆที่ติดโรค) ได้บ่อย ดังนั้นถ้าการตรวจครั้งแรกไม่พบเชื้อ อาจต้องตรวจซ้ำอีกหลายๆครั้ง
อนึ่ง นอกจากการตรวจดังกล่าวแล้ว การตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการอื่นๆจะไม่จำเพาะเฉพาะโรคมาลาเรีย เพราะโรคทั่วไปต่างๆก็ให้ผลตรวจเช่นเดียวกันได้ เช่น การตรวจเลือดซีบีซี(CBC) จะพบมีความผิดปกติได้ เช่น ปริมาณเม็ดเลือดแดงลดลงและเกล็ดเลือดต่ำ และการตรวจค่าแอลดีเฮช (LDH เอ็นไซม์ที่แสดงว่ามีเม็ดเลือดแดงหรือเซลล์ต่างๆถูกทำลาย) ในเลือดสูงขึ้น เป็นต้น
การรักษาหลักสำหรับโรคมาลาเรีย คือการให้ยาปฏิชีวนะ โดยมียาปฏิชีวนะอยู่หลายชนิดให้เลือกใช้ ที่รู้จักกันดีคือ ควินีน (Quinine) และ คลอโรควีน (Chloroquine)
สำหรับการติดเชื้อมาลาเรียชนิด Plasmodium vivax, Plasmodium ovale, และ Plas modium malariae, รวมทั้ง Plasmodium falciparum ชนิดที่อาการไม่รุนแรงและไม่มีภาวะ แทรกซ้อน การรักษาจะให้เป็นยาชนิดรับประทาน และรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยถ้าเป็นเชื้อ Plasmodium falciparum จะใช้ชนิดยาที่แตกต่างกับเชื้อชนิดอื่น แต่ถ้าการติดเชื้อ Plasmo dium falciparum เป็นแบบที่มีอาการรุนแรงและมีภาวะแทรกซ้อน ยาที่ใช้จะเป็นแบบฉีด และรักษาแบบผู้ป่วยใน อย่างไรก็ตาม การรักษาผู้ป่วยมาลาเรียจากทุกเชื้อ แบบผู้ป่วยในหรือแบบผู้ป่วยนอก แพทย์จะดูจากสุขภาพร่างกายผู้ป่วยเป็นหลัก
การรักษาอื่นๆเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาลดไข้ การให้ยาแก้ปวด และในผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เกิดภาวะไตวายฉับพลัน ก็ให้การรัก ษาโดยการฟอกเลือด หรือเมื่อเกิดภาวะหายใจล้มเหลวก็ใส่เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น
โรคมาลาเรียเป็นโรครุนแรง เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดผลข้างเคียงแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งที่พบได้ คือ
การดูแลตนเองและการป้องกันโรคมาลาเรีย คือ
ผู้ที่มีอาการไข้ ร่วมกับมีประวัติเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีความชุกของโรคมาลาเรียสูง หรือเดินทางเข้าป่ามาในช่วงระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์ก่อนมีอาการ จะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า อาจเป็นโรคมาลาเรีย และควรต้องรีบพบแพทย์ภายใน 1 - 2 วันหลังมีไข้
1. Nicholas J. White, Joel G. Breman, malaria and babeosis: diseases caused by red blood cell parasites, in Harrison’s Principles of Internal Medicine, 15th edition, Braunwald , Fauci, Kasper, Hauser, Longo, Jameson (eds). McGrawHill, 2001.
2. http://emedicine.medscape.com/article/221134-overview#showall [2014, May6]
3. http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news/20605 [2014,May6 ]
updated 2014, May 10