ใช้โทรศัพท์ผิดวิธี มีสิทธิ์สูญเสียการได้ยิน (ตอนที่ 2)

รศ. นพ. ภาคภูมิ สุปิยพันธุ์ ประธานราชวิทยาลัยโสต สอ นาสิก แห่งประเทศไทย กล่าวถึงการที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีอาการปวดหูนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักคือ การเปิดเสียงโทรศัพท์ที่มีความดังมากๆ โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีปัญหาประสาทหูเสื่อมมาก่อน เพราะระดับความดังของเสียงที่ได้ยินจะมากกว่าคนปรกติทั่วไป

อย่างไรก็ตาม แพทย์แนะนำว่า ไม่ควรใช้โทรศัพท์นานเกิน 30 นาทีต่อครั้ง มิฉะนั้นจะทำให้เกิดแรงกดที่กระดูกใบหูทำให้ปวดหูได้ การใช้สายต่อ (Small talk) หรือเครื่องเชื่อม (Blue tooth) ควรสลับเปลี่ยนข้างของการเสียบเข้าช่องหู ไม่ควรเสียบหูใดหูหนึ่งเพียงหูเดียว ข้อสำคัญ ต้องไม่เปิดเสียงดังเกินไป หรือเร่งเสียงมาก จนสูญเสียการได้ยิน

เมื่อไม่กี่ปีมานี้ มีการถกเถียงกันมากเกี่ยวกับความคิดเรื่องกล้ามเนื้อของหูชั้นกลางหดตัวกลับ เพราะปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเสียงดัง (Acoustic reflex) เป็นกลไกป้องกันอันตรายต่อการได้ยินของสิ่งมีชีวิต ข้อถกเถียงต่างๆ มีดังนี้

  • ประเภทของเสียงที่ทำให้สูญเสียการได้ยิน (Hearing loss) โดยเฉพาะเสียงกระทบ (Impact noise) และเสียงต่อเนื่อง (Continuous noise) เป็นหัวข้อที่ไม่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม [รวมทั้งมนุษย์]
  • กล้ามเนื้อที่ทำให้กระดูกเล็กๆ (Ossicle) หงิกงอได้ เป็นส่วนเล็กสุดในร่างกาย [ของมนุษย์] และอ่อนเปลี้ยเร็วเกินกว่าที่จะมีประโยชน์ในการปกป้องต่อเสียงต่อเนื่อง
  • ปฏิกิริยาตอบโต้มักจะช้าเกินกว่าที่จะปกป้องเสียงกระทบ

การสูญเสียการได้ยินมี 4 ระดับ

  • ระดับอ่อน (Mild) เกิดขึ้นกับผู้คนที่รู้สึกลำบากบ้างในการได้ยินระหว่างสนทนา โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมที่เสียงดังมาก เสียงค่อยที่สุดที่กลุ่มคนดังกล่าวจะได้ยิน ด้วยการเงี่ยหูฟัง จะอยู่ระหว่าง 25 and 40 เดซิเบล (Decibel: dB) ซึ่งเป็นระดับความดันของเสียง (Sound pressure level: SPL)
  • ระดับปานกลาง (Moderate) เกิดขึ้นกับผู้คนที่รู้สึกลำบากปานกลางในการได้ยินระหว่างสนทนา เมื่อมิได้ใช้เครื่องช่วยการได้ยิน (Hearing aid) โดยเฉลี่ยแล้ว เสียงค่อยที่สุดที่กลุ่มคนดังกล่าวจะได้ยิน ด้วยการเงี่ยหูฟัง จะอยู่ระหว่าง 40 and 70 เดซิเบล
  • ระดับรุนแรง (Severe) เกิดขึ้นกับผู้คนที่รู้สึกลำบากมากในการได้ยินระหว่างสนทนา ความรุนแรงขึ้นอยู่กับประสิทธิผลของเครื่องช่วยการได้ยิน อย่างไรก็ตาม คนกลุ่มนี้มักอาศัยการอ่านริมฝีปาก (Lip-reading) แม้ในขณะใช้เครื่องช่วยการได้ยิน เสียงค่อยที่สุดที่กลุ่มคนดังกล่าวจะได้ยิน ด้วยการเงี่ยหูฟัง จะอยู่ระหว่าง 70 and 95 เดซิเบล
  • ระดับรากลึก (Profound) เกิดขึ้นกับผู้คนที่รู้สึกลำบากยากเข็ญในการได้ยินระหว่างสนทนา คนกลุ่มนี้มักอาศัยการอ่านริมฝีปาก และภาษาสัญญาณ (Sign language) เสียงค่อยที่สุดที่กลุ่มคนดังกล่าวจะได้ยิน ด้วยการเงี่ยหูฟัง จะอยู่ตั้งแต่ 95 เดซิเบล ขึ้นไป

แหล่งข้อมูล:

  1. เตือนใช้โทรศัพท์ผิดวิธี ระวังสูญเสียการได้ยิน: http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000048676 [2012, April 24].
  2. Hearing (sense). http://en.wikipedia.org/wiki/Hearing_%28sense%29 [2012, April 24].