โรคเบาหวานกับธาตุโครเมียม (ตอนที่ 2)

ผลประโยชน์จากการศึกษาวิจัย แนะว่า Glucose Tolerance Factor (GTF) เป็นแหล่งที่มีศักยภาพสำหรับการให้ยาเบาหวานทางปาก มีการศึกษาในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับยีสต์ (Yeast) [ปกติ ยีสต์เติบโตบนสารอาหาร] ที่อุดมด้วยธาตุโครเมียม จากการศึกษานี้สังเกตพบการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลในเลือดของอาสาสมัครที่ได้รับโครเมียมในลักษณะเดียวกับ การได้รับยาเบาหวานเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม

แม้ว่าจะยังเป็นที่ถกเถียงว่า ควรจะให้อาหารเสริมในผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีที่กินอาหารได้เป็นปกติหรือไม่ ธาตุโครเมียมเป็นสิ่งจำเป็นในส่วนประกอบของอาหารเหลว ซึ่งให้กับคนไข้ที่ได้รับอาหารทางสาย (Total parenteral nutrition : TPN) เพราะการขาดแร่ธาตุสามารถเกิดหลังจากมีการให้อาหารที่ควบคุมอย่างรัดกุมเป็นเวลาหลายเดือน

การเติมธาตุโครเมียมในสารละลายของอาหารทางสายปกติ แม้ว่าปริมาณเพียงเล็กน้อย จะเพียงพอต่อการป้องกันภาวะขาดธาตุโครเมียมในแต่ละบุคคล

จริงๆ แล้ว วารสาร Lancet [วารสารสำหรับการแพทย์ทั่วไป และแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็ง ประสาท และการติดเชื้อ] ในปี พ.ศ. 2535 ได้เสนอว่า การเติมธาตุโครเมียม ลงในสารละลายของอาหารที่ให้แก่เด็ก จะทำให้มีระดับของธาตุโลหะชนิดนี้ที่มากเกินไปในร่างกายของเด็ก

การสังเคราะห์ชีวะโมเลกุลที่ประกอบด้วยธาตุโครเมียม ที่เรียกว่า “Chromium polynicolinate” ซึ่งได้รับการคุมครองทางสิทธิบัตร เพื่อแก้ไขความไม่สมดุลในการเผาผลาญกลูโคส (Glucose metabolism) เนื่องจากขาดธาตุโครเมียม แม้ว่าการเกิดขึ้นของภาวะการขาดแร่ธาตุจะไม่ค่อยรุนแรงในหลายประเทศ ที่มีการจำหน่ายอาหารเสริม

กลไกของความซับซ้อนที่เข้าไปเซลล์ในร่างกายแตกต่างจากการแนะนำของธาตุโครเมียมที่พบในอาหารตามธรรมชาติ และสำหรับเหตุผลของความปลอดภัยของการให้อาหารเสริมที่สามารถโต้แย้งได้ เพราะธาตุโครเมียมปริมาณสูง อาจเป็นพิษได้

การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้ ได้สรุปว่า การเสริมด้วยธาตุโครเมียม ไม่ได้แสดงผลกระทบต่อสุขภาพส่วนบุคคล และธาตุโครเมียม เป็นอาหารเสริมที่ไม่ได้ผล

การศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ (Mata-analysis) ในปี พ.ศ. 2545 ไม่พบผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด และอินซูลินในคนที่สุขภาพดีและข้อมูลยังไม่มีผลสรุปสำหรับโรคเบาหวาน การทดลองต่อมาได้ให้ผลคละกัน ชิ้นแรกพบว่าไม่มีผลในคนซึ่งบกพร่องต่อ Glucose tolerance แต่อีกชิ้นหนึ่งพบว่า มีการดีขึ้นเล็กน้อย

ในปี พ.ศ. 2550 มีการทบทวนการวิจัยเหล่านี้และการทดลองทางคลีนิคอื่นๆ ก็ได้รับข้อสรุปอีกครั้งหนึ่งว่า การให้ธาตุโครเมียมเสริมไม่มีประโยชน์ต่อคนที่สุขภาพดี แต่นั่นอาจจะเป็นการทำให้การเผาผลาญกลูโคสดีขึ้นในคนไข้เบาหวาน แม้ว่าผู้ทบทวนการวิจัยดังกล่าว จะบอกว่า หลักฐานของผลเหล่านี้ยังอ่อนอยู่

แหล่งข้อมูล:

  1. เบาหวานลงไต ปัจจัยเสี่ยงและแนวทางรักษา - http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111360&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, September 18].
  2. Chromium deficiency - http://en.wikipedia.org/wiki/Glucose_tolerance_factor#Supplementation [2013, September 18].