โรคเฉียบพลัน (Acute disease) โรคเรื้อรัง (Chronic disease) โรคกึ่งเฉียบพลัน(Subacute disease) ภาวะฉุกเฉิน (Emergency)
- โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์
- 20 มกราคม 2555
- Tweet
- โรคติดเชื้อ ภาวะติดเชื้อ (Infectious disease)
- โรคเอนซีดี (NCDs: Noncommunicable diseases)
- โรคปอด(Pulmonary disease)
- โรคตับ(Liver disease)
- โรคไต(Kidney disease)
- โรคต่อมไร้ท่อ(Endocrine disease)
- โรคหัวใจ(Coronary artery disease)
- โรคสมอง(Brain disease)
- โรคตา(Eye disease)
- โรคทางเดินอาหาร โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease)
ก. โรคเฉียบพลัน (Acute disease)หรือบางคนใช้คำว่า โรคฉับพลัน หมายถึงโรคหรือการเจ็บป่วยที่เมื่อเริ่มเกิดอาการจะเกิดขึ้นทันทีรวดเร็ว อาการมักรุนแรง แต่มักรักษาได้หายและภายในระยะเวลาสั้นๆประมาณ 2 - 3 สัปดาห์ แต่อาจให้ได้นานถึงประมาณ 3 เดือนเช่น โรคจาก การติดเชื้อต่างๆเช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคอาหารเป็นพิษ
ข.โรคเรื้อรัง (Chronic disease)หมายถึงโรคที่เมื่อเริ่มเกิดอาการ อาจไม่มีอาการ แต่อาการจะค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆเมื่อไม่ได้รับการรักษา อาการมักเกิดต่อเนื่องนานเกิน 6 เดือนขึ้นไป มักต้องมีการรักษาต่อเนื่องอาจตลอดชีวิตและมักไม่หายขาด มักเป็นๆหายๆ และเกิดอาการเฉียบพลันซ้ำซ้อนได้เสมอ เป็นโรคที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขอย่างมากจากการขาดประสิทธิภาพในการทำงานของผู้ป่วย ขาดคุณภาพชีวิต และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาลในภาพรวมสูงมากเช่น โรคในกลุ่มโรคเอนซีดี (เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง) และโรคมะเร็ง
ค.โรคกึ่งเฉียบพลัน (Subacute disease)คือโรคที่มีอาการและลักษณะโดยธรรม ชาติของโรคคาบเกี่ยวระหว่างเฉียบพลันและเรื้อรัง แต่โดยทั่วไปมักคล้ายคลึงกับโรคเรื้อรัง ดัง นั้นส่วนใหญ่จึงจัดอยู่ในกลุ่มเรื้อรังเช่น โรคไตอักเสบชนิดกึ่งเฉียบพลัน (Subacute glomeru lonephritis)
ง.ภาวะฉุกเฉิน (Emergency)คือภาวะที่เกิดอาการขึ้นอย่างรุนแรงรวดเร็วทันที และเป็นภาวะที่ต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วทันที มิฉะนั้นอาจก่อให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิต(ตาย) ได้เช่น อุบัติเหตุต่างๆ อาการชัก อาการแน่นหายใจไม่ออก/หายใจลำบาก หอบเหนื่อยจนตัวเขียวคล้ำ ภาวะช็อก ภาวะหมดสติ หรือโคม่า
Updated 2015, May 2