โรควิตกกังวล: สัญญาณเตือนโรควิตกกังวล (Warning sign of anxiety disorder)

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) ความวิตกกังวลเป็นอาการปกติของชีวิต การมีความวิตกกังวลที่พอดีจะช่วยให้การงานและการเรียนประสบความสำเร็จ เพราะช่วยกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการใช้ชีวิต แต่เช่นเดียวกับอาการทางจิตใจและอารมณ์ต่างๆเช่น ความเครียดและการซึมเศร้า เมื่อเป็นอย่างรุนแรงไม่สมเหตุผล อาการเกิดบ่อยผิดปกติและ/หรือมีอาการต่อเนื่องเรื้อรัง เป็นการเตือนว่าอาจเกิดเป็นโรควิตกกังวลได้ ซึ่งเมื่อเกิดอาการที่เป็นสัญญาณเตือน ควรหาผู้ที่ไว้ใจได้เพื่อช่วยระบายในเรื่องที่วิตกกังวลอยู่ แต่เมื่อคิดว่าไม่สามารถดูแลตนเองได้ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ ก่อนที่จะกลายเป็นโรควิตกกังวล ซึ่งการรักษาจะยุ่งยากขึ้นมากรวมทั้งผลจากการรักษาอาจลดลง

สัญญาณเตือนโรควิตกกังวลที่สำคัญคือ สัญญาณด้านอารมณ์และจิตใจ และสัญญาณด้านร่างกาย

  • สัญญาณเตือนด้านอารมณ์และจิตใจ ที่สำคัญคือ รู้สึกหวาดกลัว หวาดหวั่น กังวลใจ สับสน กระสับกระส่าย ไม่มีสมาธิ ตึงเครียดตลอดเวลา หรือเกิดขึ้นบ่อยมาก หรือเกิดต่อเนื่อง คิดแต่เรื่องร้ายๆและทุกอย่างดูเป็นลางร้ายไปหมด
  • สัญญาณเตือนด้านร่างกาย ที่สำคัญคือ หัวใจเต้นเร็วแรง หายใจเร็วตื้นๆ เหงื่อออกมากเกินเหตุโดยเฉพาะที่ฝ่ามือ มือสั่นเมื่อมีความกังวล กล้ามเนื้อทั่วร่างกายเกร็ง กระเพาะอาหารปั่นป่วน ปวดท้อง ปวดศีรษะเป็นประจำ อ่อนล้า หมดแรง นอนไม่หลับ

บรรณานุกรม

Anxiety attacks and disorders. http://helpguide.org/mental/anxiety_types_symptoms_treatment.htm [2014,Nov1]

Updated 2014, Nov 1