โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ตอน 5 สารอาหารที่สำคัญ (ต่อ)

โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตอน-5

      

      หมวดที่ 4 ผลไม้

      ผลไม้เป็นอาหารที่ให้วิตามิน เกลือแร่เช่นเดียวกับผัก มีสารต้านอนุมูลอิสระ ใยอาหาร แต่ผลไม้จะให้พลังงานมากกว่าผักเนื่องจากมีแป้งและน้ำตาลเป็นหลัก สิ่งที่ผู้ป่วยควรตระหนักในการรับประทานผลไม้คือ โพแทสเซียม เช่นเดียวกับผัก ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรรับประทานผลไม้มื้อละ 3-4 ชิ้นพอดีคำ โดยเลือกชนิดของผลไม้ให้เหมาะสมตามระดับโพแทสเซียมในเลือด เช่นเดียวกับการรับประทานผัก

      

ปริมาณโพแทสเซียมในผักชนิดต่างๆ
 ต่ำกว่า 100 มิลลิกรัม
 ปานกลาง 101-200 มิลลิกรัม
 มากกว่า 201 มิลลิกรัม
 สับปะรด ชมพู่ แอบเปิ้ล มังคุด สาลี่ มะม่วงดิบ เงาะ ส้มโอขาว
 ส้มเขียวหวาน สตรอเบอรี่ ลางสาด ลิ้นจี่ น้อยหน่า มะเฟือง ละมุด ลำ ไย องุ่นเขียว ลองกอง
 กระท้อน กล้วย แก้วมังกร มะละกอ มะม่วงสุก มะขาม หวาน มะปราง มะเดื่อ ทุเรียน ฝรั่ง ส้มสายน้ำผึ้ง อินทผลัม ผลไม้อบแห้ง เช่น กล้วยตาก ลูกเกด ลูกพรุน น้ำส้มคั้น น้ำมะพร้าว น้ำรอท

      

      ความต้องการโปแตสเซียม ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีโปแตสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มก./ ดล. ควรจำกัดโปแตสเซียมในอาหารประมาณ 1 มิลลิโมล หรือ 39 มก./น้ำหนักตัว 1 กก./วัน หรือประมาณ 2,400 มก. โดย แนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานผักที่มีโปแตสเซียมต่ำไม่เกิน 2 ทัพพี (ผักสุก 1 ถ้วยตวง) ต่อวัน นอกจากนี้ผลไม้ก็เป็น แหล่งอาหารที่มีโปแตสเซียมอีกชนิดหนึ่ง ถ้าผู้ป่วยมีโปแตสเซียม ในเลือดสูง ควรแนะนำผู้ป่วยรับประทานผลไม้ที่มีโปแตสเซียมต่ำ วันละ 1-2 ครั้ง ถ้าระดับโปแตสเซียมในเลือดเกินกว่า 5.5 มก./ ดล. ควรงดผัก และ/หรือผลไม้ทุกชนิดชั่วคราว

      

แหล่งข้อมูล:

  1. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล สาขาวิชาวักกะวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์.โภชนาการสำหรับผู้เป็นโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: บริษัท ไอดี ออล ดิจิตอล พริ้น จำกัด; 2560.
  2. สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย.แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต.กรุงเทพฯ: เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย);2552.
  3. ยุพา ชาญวิกรัย.โภชบำบัดสำหรับโรคไตเรื้องรังก่อนล้างไต. เวชสารแพทย์ทหารบก [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อ 1 มิถุนายน 2561];65:51. เข้าถึงได้จาก: https://tci-thaijo.org/index.php/rtamedj/article/view/5377