อะไรกัน ! โดนน้ำหนีบ (ตอนที่ 2)

โดนน้ำหนีบ-2

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคน้ำหนีบ ได้แก่

  • กล้ามเนื้อหัวใจพิการแต่กำเนิด รวมถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของผนังหัวใจแต่กำเนิด (Patent foramen ovale) โรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่วแต่กำเนิด (Atrial septal defect) และโรคผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่วแต่กำเนิด (Ventricular septal defect)
  • อายุมากกว่า 30 ปี
  • เพศหญิง
  • มีการออกกำลังกายที่น้อย (Low cardiovascular fitness)
  • มีปริมาณไขมันในร่างกายที่สูง
  • ดื่มแอลกอฮอล์หรือสูบบุหรี่
  • ได้รับบาดเจ็บ
  • ดำในที่น้ำเย็น
  • เป็นโรคเกี่ยวกับปอด
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจเป็นรูผิดปกติแต่กำเนิดหรือหัวใจเปิดพิการแต่กำเนิดจะมีความเสี่ยงสูงในการมีอาการรุนแรงของโรคน้ำหนีบ เพราะฟองจะทำให้เกิดความดันโลหิตที่สูงในปอด เลือด และฟองในหลอดเลือดอาจจะไหลไปสู่หัวใจที่เปิดอยู่ นั่นหมายถึงเลือดอาจไหลกลับ (Re-circulate) เข้าสู่หลอดเลือดแดง (Arteries) โดยที่ยังไม่ได้ฟอกก่อน

    ระบบประสาท (Nervous system) และระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal system) เป็นระบบที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยอาการจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการภายใน 6 ชั่วโมง และบางคนอาจจะมีอาการในชั่วโมงแรกหลังการกลับขึ้นสู่ผิวน้ำ โดย

    อาการของโรคน้ำหนีบ ได้แก่

  • ปวดข้อและบริเวณรอบข้ออย่างไหล่ ข้อศอก
  • เวียนศีรษะ (Dizziness)
  • ปวดศีรษะ
  • คิดไม่ออก
  • อ่อนเพลียมาก
  • ปวดเอว
  • เป็นเหน็บ (Tingling) หรือชา (Numbness)
  • แขนขาอ่อนแรง
  • ผิวหนังเป็นผื่น
  • หายใจขัด
  • ต่อมน้ำเหลืองโตหรือปวด
  • อาการที่หูชั้นในมีปัญหา เช่น หูอื้อ มีเสียงในหู อาเจียน เดินเซ
  • ทั้งนี้ อาการปวดข้อเป็นอาการที่พบมากทกี่สุดของโรคน้ำหนีบ ซึ่งอาจใช้เวลาหลายวันหรือหลายสัปดาห์กว่าจะหายเป็นปกติ

    แหล่งข้อมูล:

    1. The Bends (Decompression Syndromes). https://www.emedicinehealth.com/decompression_syndromes_the_bends/article_em.htm [2018, January 16].
    2. Decompression Sickness. https://www.health.harvard.edu/diseases-and-conditions/decompression-sickness [2018, January 16].