แอสไพรินกินทุกวัน ลดอุดตันหลอดเลือดดำ (ตอนที่ 3 และตอนสุดท้าย)

ทีมงานนักวิจัยดังที่กล่าวมาแล้ว นำโดย ดร. พญ. Cecilia Becattini แห่งมหาวิทยาลัย Perugia ในประเทศอิตาลี โดยที่ทีมงานวิจัยได้ประเมินชายหญิง 402 คน ที่ได้กินยาต้านการจับเป็นลิ่ม (Anticoagulation) ระหว่าง 6 ถึง 18 เดือน หลังจากหลอดเลือดอุดตัน (Blood clot or Thrombus) โดยให้ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้เข้ารับการวิจัย กินยาแอสไพรินวันละ 100 มิลลิกรัม เป็นเวลา 2 ปี และอีกครึ่งหนึ่งกินยาหลอก (Placebo) ทุกๆ วัน เป็นเวลา 2 ปีเช่นกัน

ขณะที่ 28 คนในจำนวน 205 คนที่กินยาแอสไพริน หรือ 13.7% ประสบหลอดหลือดอุดตันซ้ำ (Repeat) และอีก 43 คนใน 197 คน ที่กินยาหลอก หรือ 21.8% ประสบหลอดเลือดอุดตันซ้ำ ในขณะเดียวกัน แอสไพรินลดความเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดอุดตันซ้ำ โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงของเลือดไหลไม่หยุด (Bleeding)

ในปัจจุบัน แพทย์มักใช้ยา Heparin และ Warfarin ในการยับยั้งการก่อตัวและเติบโตของหลอดเลือดอุดตัน โดยที่ยาตัวแรก ใช้กระตุ้นสารยับยั้งเอ็นไซม์ (Enzyme inhibitor) ในระบบการจับเป็นลิ่ม ในขณะที่ยาตัวหลังใช้ยับยั้งเอ็นไซม์ที่จำเป็นต่อการสังเคราะห์ปัจจัยอุดตันที่เจริญเต็มที่แล้ว (Mature)

ส่วนการป้องกันและการรักษาการอุดตันของหลอดเลือด จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หัวใจล้ม (Heart attack) และภาวะหลอดเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary embolism) ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรงที่คุกคามชีวิตได้

นอกจากนี้ทีมงานนักวิจัยยังพบว่า แอสไพริน อยู่ในประเภทที่มีความเสี่ยงต่อเหลือดไหลไม่หยุดของกระเพาะ หากใช้เป็นเวลายาวนาน ในแต่ละกลุ่มของผู้เข้ารับการวิจัย มีเพียงผู้ป่วยรายเดียวที่มีปัญหาเลือดไหลไม่หยุด ส่วนผลข้างเคียงอื่นๆ อาทิ การปวดกระเพาะ (Gastric pain) นั้น เกิดขึ้นคล้ายกันทั้ง 2 กลุ่ม

ผลข้างเคียงหลักที่ไม่พึงปรารถนาของการกินยาแอสไพริน คือ แผลเปื่อยจากกระเพาะลำไส้ (Gastrointestinal ulcers) เลือดไหลจากกระเพาะ (Stomach bleeding) และเสียงในหู/หูอื้อ (Tinnitus) โดยเฉพาะในกรณีที่กินในปริมาณสูง นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของภาวะโลหิตจาง (Anemia) จากการขาดธาตุเหล็ก หากกินในประมาณสูง เป็นเวลายาวนาน

ในเด็กและวัยรุ่น ไม่มีการใช้ยาแอสไพรินอีกต่อไปเพื่อควบคุมอาการคล้ายไข้หวัด อาการอีสุกอีใส (Chickenpox) หรือการเจ็บป่วยจากเชื้อไวรัส เพราะมีความเสี่ยงจากกลุ่มอาการรายส์ (Reye's syndrome) ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงที่ทำลายอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะสมองและตับ และลดระดับน้ำตาลให้ต่ำกว่าปรกติ (Hypoglycemia)

ศาสตราจารย์ นพ. Richard C. Becker แห่ง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Duke ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เปิดเผยถึงการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งชื่อ “ASPIRE (= Aspirin to Prevent Recurrent Venous Thromboembolism) ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ โดยในขณะนี้มีผู้ป่วยสมัครเข้ารับการวิจัยจำนวน 822 คน

จากนั้น จะมีการเปรียบเทียบการใช้ยาแอสไพริน ปริมาณ 100 กรัมทุกวัน กับยาหลอก ในบรรดาผู้ป่วยได้รับยาต้านการจับเป็นลิ่มแล้ว 3 ถึง 6 เดือน ทีมนักวิจัยวางแผนที่จะรวมผลงานวิจัยทั้ง 2 ชิ้นเข้า [ในอนาคต] เพื่อค้นหาความเสี่ยงและผลประโยชน์ ที่ได้จากการกินยาแอสไพรินทุกวัน

แหล่งข้อมูล:

  1. Aspirin May Reduce Risk of Repeat Blood Clots. http://www.webmd.com/news/20120523/aspirin-may-reduce-risk-of-repeat-blood-clots [2012, May 28].
  2. Aspirin. http://en.wikipedia.org/wiki/Aspirin [2012, May 28].
  3. Thrombus. http://en.wikipedia.org/wiki/Thrombus [2012, May 28].