แอล-คาร์นิทีน ดีจริงหรือ? (ตอนที่ 4)

ประโยชน์ของแอล-คาร์นิทีนที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของสหรัฐ (The US Food and Drug Administration = FDA) มีดังนี้ :

  • ใช้ในการรักษาและป้องกันการขาดสารแอล-คาร์นิทีน อันนื่องมากจากพันธุกรรม
  • ใช้เพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตรุนแรง

ประโยชน์ที่อาจเป็นไปได้ :

  • เพิ่มน้ำหนักในเด็กแรกเกิด เด็กที่คลอดก่อนกำหนดจะได้รับสารอาหารมากขึ้นจากการให้แอล-คาร์นิทีนทางปากหรือทางหลอดเลือด
  • ป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาอาการชัก
  • ช่วยรักษาอาการและอาการแทรกซ้อนของโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
  • รักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษ
  • รักษาอาการอักเสบของอวัยวะและเนื้อเยื่อที่เกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ของผู้ชาย อย่างต่อมลูกหมาก (Prostate) ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal vesicle) และลูกอัณฑะ (Epididymis)

กรณีที่ยังมีผลการวิจัยไม่เพียงพอในการใช้รักษา :

  • อาการอ่อนเพลียในผู้สูงอายุ ผู้เป็นโรคมะเร็ง ผู้เป็นโรคตับอักเสบ (Hepatitis) ผู้ที่เป็นโรค Celiac
    • ช่วยขจัดอาการอ่อนเพลีย เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และลดมวลไขมันในผู้สูงอายุ
    • ช่วยลดอาการอ่อนเพลียในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ขาดแอล-คาร์นิทีน
    • ช่วยลดอาการอ่อนเพลียในผู้ป่วยโรคตับอักเสบซีที่ใช้ยา Interferon-alpha โดยแอล-คาร์นิทีนจะช่วยลดอาการอ่อนเพลียใน 3 เดือนแรก แต่จะไม่ได้ผลหลังจากที่ใช้ไป 6 เดือน
    • ช่วยลดอาการอ่อนเพลียในผู้ป่วยโรค Celiac แต่ไม่ได้ช่วยเรื่องอาการหดหู่ซึมเศร้า

[โรค Celiac เกิดจากการอักเสบที่ลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถดูดซึมไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอ ผลจากการขาดสารอาหารที่ลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้เล็กไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เกิดโรคโลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลง กระดูกพรุน การเจริญเติบโตช้า (ในวัยเด็ก) ผิวหนังและระบบประสาททำงานผิดปกติ]

  • อาการปวดขาอันเนื่องมาจากการขาดเลือด (Intermittent claudication) แอล-คาร์นิทีนช่วยให้เดินได้ไกลขึ้นโดยไม่ปวดขา
  • ลดอาการสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder = ADHD)
  • ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และการเคลื่อนไหวของเด็กหญิงที่เป็นโรคลมชัก (Rett Syndrome)
  • การกินผิดปกติ
  • โรคเบาหวาน
  • คลอเรสเตอรอลสูง
  • เลือดผิดปกติ
  • โรคแผลเรื้อรังที่ขา (Leg ulcers)
  • โรคลายม์ (Lyme disease)
  • โรคออทิซึม (Autism)

แหล่งข้อมูล:

  1. Find a Vitamin or Supplement L – CARNITINE. - http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1026-L-CARNITINE.aspx?activeIngredientId=1026&activeIngredientName=L-CARNITINE [2013, May 17].