แบคทีเรียกินเนื้อ (ตอนที่ 2)

แบคทีเรียกินเนื้อ-2

การติดเชื้อเกิดจากแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น

  • Group A Streptococcus (group A strep)
  • Klebsiella
  • Clostridium
  • Escherichia coli
  • Staphylococcus aureus
  • Aeromonas hydrophila

ทั้งนี้ เชื้อ Group A Streptococcus เป็นสาเหตุของการเกิดโรคนี้มากที่สุด

โรคแบคทีเรียกินเนื้อเป็นโรครุนแรงที่พบได้ยาก สามารถติดต่อได้โดยเชื้อเข้าทางบาดแผลผิวหนังที่เปิด เช่น

  • บาดแผลจากของมีคม (Cuts)
  • รอยถลอก (Scrape)
  • แผลไฟไหม้ (Burn)
  • แมลงกัด (Insect bites)
  • แผลถูกตำ (Puncture wounds) เช่น เข็มฉีดยา
  • แผลผ่าตัด (Surgical wounds)

ผู้ป่วยโรคนี้จะต้องรักษาตัวในห้องผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Unit = ICU) และประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะเสียชีวิต

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเป็นผู้ที่มีสุขภาพดีก่อนการติดเชื้อ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ ซึ่งได้แก่

  • มีภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ
  • มีปัญหาสุขภาพ เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ หรือโรคไตv
  • มีแผลที่ผิวหนัง รวมถึงแผลจากการผ่าตัด
  • เพิ่งเป็นโรคอีสุกอีใส (Chickenpox) หรือโรคติดเชื้อไวรัส (Viral infections) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดผื่น (Rash) มาเมื่อไม่นาน
  • ใช้ยาสเตียรอยด์ที่ทำให้ร่างกายมีความต้านทานต่อการติดเชื้อที่ต่ำ
  • เป็นผู้สูงอายุ

อาการมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหลังได้รับบาดเจ็บ ซึ่งจะรู้สึกถึงอาการปวดได้มากกว่าขนาดของบาดแผลที่ปรากฏ การติดเชื้อจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และอาจมีอาการ

  • ผิวหนังแดง ร้อน บวม
  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ท้องเสีย
  • กระหายน้ำมากเพราะร่างกายขาดน้ำ

แหล่งข้อมูล:

  1. Necrotizing fasciitis. http://www.dermnetnz.org/topics/necrotising-fasciitis/ [2017, August 31].
  2. Necrotizing Fasciitis (Flesh-Eating Bacteria) - Topic Overview. http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/tc/necrotizing-fasciitis-flesh-eating-bacteria-topic-overview#1 [2017, August 31].
  3. Necrotizing Fasciitis: A Rare Disease, Especially for the Healthy. https://www.cdc.gov/features/necrotizingfasciitis/ [2017, August 31].