แคลเซียม อาหารเสริมที่น่าคิด (ตอนที่ 3)

แคลเซียมอาจจะให้ผลดี (Possibly Effective) ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colorectal cancer) และกลับมาเป็นซ้ำ
  • ลดความดันโลหิตสูง (ได้ประมาณ 1-2 มิลลิเมตรปรอท หรือ mmHg) ทั้งในคนที่เป็นและไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
  • ลดความดันโลหิตสูงในหญิงมีครรภ์หรือครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia) ได้ประมาณร้อยละ 50
  • ลดคลอเรสเตอรอลได้พอประมาณหากกินอาหารเสริมแคลเซียมร่วมกับการควบคุมอาหารไขมันต่ำหรืออาหารแคลอรี่ต่ำ แต่หากไม่มีการควบคุมอาหารก็จะไม่ได้ผล
  • ลดน้ำหนักและไขมัน
  • ป้องกันอาการเส้นโลหิตในสมองแตก (Stroke) ในผู้หญิง
  • ป้องกันความเป็นพิษของฟลูออไรด์ในเด็ก กรณีที่กินวิตามินซีและวิตามินดี
  • ป้องกันการสูญเสียฟันในผู้สูงอายุ

แคลเซียมอาจจะไม่ให้ผล (Possibly Ineffective) ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงสูงอายุหลังหมดประจำเดือน (Postmenopausal)
  • ลดระดับสารตะกั่วในหญิงที่ให้นมบุตร

แคลเซียมยังไม่มีหลักฐานอ้างอิงพอ (Insufficient Evidence) ในกรณีดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการหกล้ม
  • ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง
  • ลดความเสี่ยงของการเป็นตะคริวที่ขาของหญิงมีครรภ์
  • ลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคไลม์
  • ลดอาการชัก (Seizures)

ส่วนใหญ่แคลเซียมเสริมจะปลอดภัยหากกินในปริมาณที่แนะนำ ทั้งนี้แคลเซียมอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยมีข้อควรระวังดังต่อไปนี้

  • หญิงมีครรภ์และอยู่ระหว่างให้นมบุตร ควรกินในปริมาณที่แนะนำ
  • ควรรักษาสมดุลระหว่างระดับแคลเซียมและระดับฟอตเฟตในร่างกาย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องระดับฟอตเฟตในเลือดที่สูงเกินไป (Hyperphosphatemia) หรือ ต่ำเกินไป (Hypophosphatemia) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
  • คนที่มีปัญหาเรื่องระดับไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ (Hypothyroidism) ควรแยกกินแคลเซียมและยาธัยรอยด์ให้ห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
  • ควรหลีกเลี่ยงการกินแคลเซียมหากมีภาวะแคลเซียมในเลือดสูง เช่น กรณีต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานผิดปกติ (Parathyroid gland disorders) และกรณีเป็นโรคซาคอยโดซิส (Sarcoidosis) ซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการตอบสนองภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ

แหล่งข้อมูล

  1. Calcium http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-781-calcium.aspx?activeIngredientId=781&activeIngredientName=calcium [2014, March 26].