เอ็มดีเอส (ตอนที่ 2)

เอ็มดีเอส-2

      

      ส่วนอาการอย่างอื่น ได้แก่

  • น้ำหนักลด
  • เป็นไข้
  • ปวดกระดูก
  • เบื่ออาหาร
  • ติดเชื้อบ่อยเนื่องจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ

      องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แบ่งกลุ่มโรคเลือดเอ็มดีเอสออกตามชนิดของเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 6 ชนิดหลัก คือ

  • MDS with multilineage dysplasia (MDS-MLD) หรือในอดีตเรียกว่า Refractory cytopenia with multilineage dysplasia (RCMD) ได้แก่ เอ็มดีเอสชนิดมีเม็ดเลือด 2-3 ชนิดในเลือดต่ำ โดยพบเซลล์ตัวอ่อนเซลล์เม็ดเลือดในเลือดได้ประมาณร้อยละ 1 เป็นชนิดที่พบมากที่สุด
  • MDS with single lineage dysplasia (MDS-SLD) หรือในอดีตเรียกว่า Refractory cytopenia with unilineage dysplasia (RCUD) ได้แก่ เอ็มดีเอสชนิดมีเม็ดเลือดทุกชนิดในเลือดต่ำ เป็นชนิดที่ไม่ค่อยพบ และไม่ค่อยพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์ โดยผู้ป่วยโรคเอ็มดีเอสชนิดนี้สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานแม้ไม่ได้รับการรักษา
  • MDS with ring sideroblasts (MDS-RS) หรือในอดีตเรียกว่า Refractory anemia with ringed sideroblasts (RARS) ได้แก่ เอ็มดีเอสชนิดมีภาวะซีด และมีเม็ดเลือดแดงในเลือดสูงแต่เป็นชนิดตัวอ่อนที่มีเหล็กมากที่เรียกว่า Sideroblast เป็นชนิดที่พบน้อย และไม่ค่อยพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์
  • MDS with excess blasts (MDS-EB) หรือในอดีตเรียกว่า Refractory anemia with excess blasts (RAEB)ได้แก่ เอ็มดีเอสชนิดมีภาวะซีดและมีเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในเลือดต่ำ ร่วมกับมีเซลล์ตัวอ่อนเม็ดเลือดในเลือดจำนวนมาก เป็นชนิดที่พบได้ประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยโรคเอ็มเอสดี และมักจะพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์
  • MDS with isolated del(5q) ได้แก่ เอ็มดีเอสชนิดที่มีเม็ดเลือดแดงในเลือดต่ำและมีความผิดปกติของโครโมโซมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเม็ดเลือดที่เรียกว่า del(5q) chromosome เป็นชนิดที่พบไม่บ่อย มักเกิดในผู้หญิงสูงอายุและมีชีวิตอยู่ได้นาน โดยไม่ค่อยพัฒนาไปเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอีลอยด์
  • MDS, unclassifiable (MDS-U) ได้แก่ เอ็มดีเอสชนิดที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่ได้กล่าวมาแล้ว เป็นชนิดที่ไม่ค่อยพบ

      นอกจากนี้ ยังสามารถแบ่งประเภททางคลีนิก (Clinical classification) ได้เป็น

  • โรคเอ็มดีเอสปฐมภูมิ (Primary MDS) – เป็นกรณีที่ไม่สามารถทราบสาเหตุที่เกิดได้ โดยเป็นชนิดที่พบมาก
  • โรคเอ็มดีเอสทุติยภูมิ (Secondary MDS) – เป็นกรณีที่ทราบสาเหตุที่มาของโรค ซึ่งมักจะเกี่ยวโยงกับการรักษาโรคมะเร็งที่เกิดมาก่อนหน้า หรือพัฒนามาจากโรคที่ต่างๆ ที่เกี่ยวกับไขกระดูก

      ทั้งนี้การแยกชนิดนี้มีความสำคัญ เนื่องจากโรคเอ็มดีเอสชนิดทุติยภูมิมักจะตอบสนองต่อการรักษาได้น้อยกว่า

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Myelodysplastic syndromes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/myelodysplastic-syndrome/symptoms-causes/syc-20366977 [2019, March 18].
  2. What Are Myelodysplastic Syndromes?. https://www.cancer.org/cancer/myelodysplastic-syndrome/about/what-is-mds.html [2019, March 18].