เหน็บชาเพราะปลาร้า (ตอนที่ 3)

เหน็บชาเพราะปลาร้า

ผู้ที่มีภาวะความเสี่ยงในการเป็นโรคเหน็บชา ได้แก่

  • ทารกที่กินนมแม่ โดยที่แม่ขาดวิตามินบี 1 หรือทารกที่กินนมซึ่งไม่ได้เพิ่มส่วนผสมของวิตามินบี 1
  • ผู้ที่กินอาหารบางชนิดที่ผลิตเอนไซม์ที่ยับยั้งการทำงานของวิตามินบี 1
  • ผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้ขาดความสามารถในการดูดซึมวิตามินบี 1 จากอาหาร ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการเห็นผลเมื่อตอนโตเป็นผู้ใหญ่ก็ได้
  • ผู้ที่ติดแอลกอฮอล์ (Alcoholics) ซึ่งทำให้การดูดซึมและการสะสมวิตามินบี 1 ไม่พอเพียง เพราะแอลกอฮอล์จะลดการดูดซึมวิตามินบี 1 และเพิ่มการขับวิตามินบี 1 ออกจากร่างกาย
  • ผู้ที่เป็นโรคไต ต้องฟอกไตและต้องกินยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ในปริมาณที่มาก

โรคเหน็บชาแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • Dry beriberi เป็นการชาแบบไม่บวม มักเป็นตามปลายมือ ปลายเท้า กล้ามเนื้อแขนขาไม่มีกำลัง มีผลต่อระบบประสาทนอกส่วนกลาง (Peripheral nervous system)
  • Wet beriberi จะมีอาการบวมร่วมกับการชาปลายมือ ปลายเท้า มีน้ำคั่งในช่องท้อง ช่องปอด บางรายจะมีอาการหอบเหนื่อย หัวใจโตและเต้นเร็ว อาจหัวใจวายได้ มีผลต่อระบบหัวใจ (Cardiovascular system) และระบบอื่นๆ ของร่างกาย
  • Infantile beriberi จะมีผลกับเด็กที่แม่ขาดสารอาหาร (Malnourished mothers) อาการของ Dry beriberi ได้แก่
  • เดินลำบาก
  • เป็นเหน็บ (Tingling) หรือชา (Numbness) ที่มือและเท้า
  • กล้ามเนื้อที่ขาส่วนล่างไม่ทำงานหรือเป็นอัมพาต (Paralysis)
  • จิตใจสับสน (Mental confusion) พูดลำบาก (Speech difficulties)
  • ปวด
  • ตากระตุก (Nystagmus)
  • อาเจียน (Vomiting)

อาการของ Wet beriberi ได้แก่

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • หลอดเลือดขยาย (Vasodilation) ทำให้ค่าความต้านทานของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย (Systemic vascular resistance) ลดลง ทำให้หัวใจล้มเหลวได้ง่าย
  • หลอดเลือดดําที่คอโป่ง (Jugular venous pressure)
  • หายใจลำบาก (Dyspnea)
  • อาการเหนื่อยฉับพลันขณะหลับ (Paroxysmal nocturnal dyspnea)
  • ปลายเท้าบวม (Peripheral oedema)

แหล่งข้อมูล

  1. Beriberi. http://en.wikipedia.org/wiki/Beriberi [2015, March 11].
  2. Beriberi: Vitamin B1 deficiency. http://www.infonet-biovision.org/default/ct/623/nutrition [2015, March 11].