เหนือ “อีโบลา” ยังมี “มาร์บวร์ก” (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

มาร์บวร์ก

วิธีรักษาโรคนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เป็นเพียงการรักษาแบบประคับประคอง (Supportive hospital therapy) ซึ่งได้แก่

  • การทำให้ร่างกายคนป่วยมีน้ำและเกลือแร่ที่สมดุล
  • รักษาระดับความดันโลหิต
  • ให้ออกซิเจน
  • ให้เลือดเพื่อทดแทนส่วนที่สูญเสียไป
  • รักษาอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

คนทั่วไปมีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ต่ำ อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นหากเป็น

  • ผู้ที่เดินทางไปแอฟริกา ในขณะที่เชื้อโรคกำลังระบาด
  • ผู้ที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับสัตว์ที่นำมาจากแอฟริกา คนที่ทำงานในห้องแล็ป
  • ผู้ดูแลสัตว์ติดเชื้อชนิดนี้ที่ถูกกักกัน
  • ญาติ พยาบาล แพทย์ หรือ ผู้ที่ดูแลผู้ป่วย
  • ผู้ที่ทำศพผู้ป่วยโรคนี้ (ดังนั้นการฝังศพจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อได้)

สำหรับการป้องกันโรคอาจทำได้โดย

  • หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
  • ล้างมือให้บ่อย ด้วยสบู่และน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ป่า
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ รวมถึงเนื้อเยื่อหรือของเหลว ซึ่งรวมถึงเลือด สารคัดหลั่ง และน้ำลาย
  • สำหรับผู้ดูแลผู้ป่วยให้ปฏิบัติตามกฎการป้องกัน ด้วยการใส่ถุงมือสองชั้น (Double gloves) ใส่เสื้อกาวน์ซึ่งซึมผ่านไม่ได้ (Impermeable gowns) ปกปิดใบหน้า ตา ขา และรองเท้า
  • อย่าสัมผัสกับศพผู้ติดเชื้อ

ส่วนวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบอยู่

อนึ่ง มาร์บวร์กถือเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดโรคทางชีวภาพระดับ 4 (Biosafety level-four agent) ดังนั้นจึงต้องการความระมัดระวังระดับสูงสุด

แหล่งข้อมูล

  1. Marburg Hemorrhagic Fever: Fact Sheet. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/marburg-hemorrhagic-fever [2014, November 10].
  2. Marburg. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ebola-virus/basics/definition/con-20031241 [2014, November 10].
  3. What is Marburg Virus? http://www.news-medical.net/health/Marburg-Virus.aspx [2014, November 10].