“เลปโตคือโรคฉี่หนู ถ้าใครไม่รู้...นึกว่าเป็นหวัด” (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

นายชรัตน์ วสุธาดา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรียังได้ฝากเตือนไปยังชาวจันทบุรีว่า หากมีอาการป่วย ดังที่กล่าวใน เบื้องต้น หรือเกิดความสงสัย ให้รีบพบแพทย์เป็นการเร่งด่วน ซึ่งหากเป็นผู้ทำงาน ควรหลีกเลี่ยงที่ที่มีน้ำท่วมขัง และควรรักษา และทำความสะอาด

โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีบาดแผลและต้องสัมผัสกับแหล่งน้ำ ควรล้างแผลให้สะอาดทุกชั่วโมง เพื่อป้องกัน การติด เชื้อโรคดังกล่าว “เกษตรกรที่ทำนาควรสวมใส่ รองเท้าบูตเพื่อป้องกันโรคฉี่หนู รวมทั้งจะต้องมาล้างทำความสะอาดมือ เท้าที่สัมผัสน้ำทุกครั้ง หากปฏิบัติตามได้ ปัญหาโรคฉี่หนูก็จะไม่ระบาดมาก อาจะเบาบางและหมดไปในที่สุด” นายชรัตน์กล่าว

วิธีวินิจฉัยโรคฉี่หนู ทำโดยเพาะเชื้อ (Culture) แบคทีเรีย Leptospira จากเลือดที่ติดเชื้อ จากน้ำไขสันหลัง (Spinal fluid) หรือจากปัสสาวะ ทว่า แพทย์จำนวนมากต้องอาศัยดูระดับสารภูมิต้านทานของ Leptospira ที่สูงขึ้นเป็นหลักในการวินิจฉัย เพราะวิธีการเพาะเชื้อนั้นทั้งซับซ้อนและยุ่งยาก

สำหรับการรักษาโรคฉี่หนูนั้นใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ขนาดสูง การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ (Doxycycline [Vibramycin, Oracea, Adoxa, Atridox], และ Penicillin) จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อเริ่มใช้ตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดอาการป่วย ผู้ป่วยที่อาการ หนักอาจต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือเข้าทางหลอดเลือดดำ (Intravenous fluid) และรับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

การติดเชื้อที่ ตับและไตขั้นรุนแรง (Severe) อาจจำเป็นต้องใช้การรักษาขั้นเข้มข้น บางคราวอาจถึงขั้นต้องล้างไต (Dialysis) อัตราการ เสียชีวิต (Mortality) จากโรคฉี่หนูมีตั้งแต่ 5 ถึง 40% ขึ้นอยู่กับความเสียหายจากการทำหน้าที่ผิดปกติ ของอวัยวะ และสุขภาพทั่วไปของ ผู้ป่วยก่อนการติดเชื้อ ผู้ป่วยที่เคยสุขภาพดีส่วนใหญ่มักมีการคาดคะเน/การพยากรณ์ที่ดี และมักหายดีอย่างเต็มที่

ส่วนการป้องกันโรคฉี่หนูนั้น นอกจากทำได้โดยทั่วไป ด้วยการรักษาความสะอาดตามปกติ และมากขึ้นหากมีแผล เมื่อต้องสัมผัสกับน้ำปนเปื้อน (Contamination) แล้ว ก็ยังมีวิธีการใช้วัคซีนและยาปฏิชีวนะ วัคซีนมีใช้กันในบางประเทศ ของทวีปยุโรปและเอเชีย และจะต้องฉีดทุกปีเหมือนวัคซีนป้องกันหวัด วัคซีนที่ให้ผลยาวนานกว่าตัวแรกนั้นกำลังอยู่ในช่วงวิจัยและทดลอง

สำหรับวิธี การใช้ยาปฏิชีวนะนั้น หากใครต้องเดินทางไปยังที่ๆ โรคฉี่หนูกำลังระบาด หรือทำกิจกรรมเสี่ยงต่อ การสัมผัสสิ่งปนเปื้อน สามารถทานยา Doxycycline ขนาด 200 มก. ต่อสัปดาห์ โดยทานช่วงก่อนและระหว่างการสัมผัส กับพาหะของโรค จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลโรคฉี่หนู (Leptospirosis Information Center) ในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าขณะนี้ยังไม่มีสายพันธุ์ใดของแบคที่เรียที่ดื้อยานี้เลย ยาปฏิชีวนะขนานดังกล่าวจึงยังเป็นทางป้องกันที่ดี

สัตว์เลี้ยงตามบ้าน สามารถสัมผัสกับเชื้อโรคฉี่หนูในลักษณะเดียวกับคน (ดินและน้ำที่ปนเปื้อน หรือบาดแผลที่ผิวหนัง) ซึ่งจะแสดงออกโดยอาเจียน (Vomiting) เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ไม่คล่องแคล่วว่องไว และปวดกล้ามเนื้อ ถ้าสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงป่วย ต้องรีบนำไปให้สัตวแพทย์ตรวจเพื่อการรักษาแต่เนิ่นๆ ด้วยยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะช่วยจำกัดหรือป้องกันความเสียหายแก่อวัยวะต่างๆ ได้

แหล่งข้อมูล:

  1. จันทบุรีพบผู้ติดเชื้อโรคฉี่หนูแล้ว 22 รายเสียชีวิต 2 http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000125185&Keyword=%CA%D2%B8%D2%C3%B3%CA%D8%A2 [2012, October 16].
  2. [Leptospirosis] What is leptospirosis? http://www.medicinenet.com/leptospirosis/article.htm#what_is_leptospirosis [2012, October 16].
  3. [Leptospirosis] Can my pet get leptospirosis? http://www.medicinenet.com/leptospirosis/page3.htm [2012, October 17].