สาระน่ารู้จากหมอตาตอนประวัติเลนส์ตาเทียม (Intraocular Lens)

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-25

อวัยวะเทียมที่มีใช้ในการักษาตามีด้วยกันหลายชนิด เช่น กระจกตาเทียม (keratoprosthesis), ม่านตาเทียม (iris prosthesis), แก้วตาเทียม บางคนเรียกเลนส์เทียม (intraocular lens : IOL), ลูกตาเทียม (มักจะเรียกกันว่าตาปลอม) เป็นต้น ที่ใช้กันมากในเวลานี้ คือแก้วตาเทียม ที่ใช้ฝังเข้าไปในตาผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดลอกต้อกระจก ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องใช้แว่นตา กล่าวคือ ต้อกระจกเป็นความผิดปกติของแก้วตาซึ่งทำหน้าที่หักเหแสง เป็นเลนส์นูน มีกำลังหักเหแสงประมาณ +20 ไดออกเตอร์ เมื่อเป็นโรคจำเป็นต้องผ่าตัดเอาออก จึงทำให้ผู้นั้นมีสายตายาว +20 หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องใส่แว่นตากำลังมาก เลนส์หนาทดแทนแก้วตาที่เอาออกไป ภาพที่เห็นชัดแต่มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้ต้องปรับตัวกว่าจะใส่แว่นได้ จึงมีความคิดที่จะทำเลนส์ฝังในตาผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องใช้แว่นอีกต่อไป

ประวัติของการคิดค้นฝังเลนส์เทียมหรือแก้วตาเทียม เริ่มมาจากในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นักบินท่านหนึ่ง ระหว่างสงครามได้รับอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้มีเศษพลาสติกที่เป็นส่วนประกอบของหน้าปัดในเครื่องบิน บ้างก็ว่าอาจเป็นพลาสติกที่บุเพดานเครื่องบินแตกกระจาย มีบางชิ้นทะลุเข้าตา เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 1940 เศษพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ ฝังอยู่ภายในดวงตาเป็นเวลานานโดยมิได้ก่อให้เกิดการอักเสบหรือให้โทษต่อดวงตา แม้เวลาจะล่วงเลยไปนาน จุดประกายให้คุณหมอ Harold Ridley คิดว่าพลาสติกสามารถฝังอยู่ในตาอย่างปลอดภัย จนกระทั่งในราวปี คศ. 1945 มีนักศึกษาแพทย์ท่านหนึ่ง ขณะดูการผ่าตัดเอาต้อกระจกออก ถามท่านว่าทำไมท่านไม่หาเลนส์อันใหม่ชดเชยที่เอาออกล่ะ ทำให้คุณหมอ Ridley ฉุกคิดว่าน่าจะฝนพลาสติกให้มีกำลังใกล้เคียงกับกำลังแก้วตาธรรมชาติฝังเข้าในตาได้ จึงได้ผลิตเลนส์เทียมทำจากพลาสติก polymethyl methacrylate (PMMA) อาจเรียกอีกอย่างว่า acrylic หรือ acrylic glass พลาสติกนี้มีชื่อการค้า เช่น Plexiglas, acrylic lucite, prespex ฯลฯ พลาสติกชนิดนี้เป็น thermoplastic ที่ใส่ กล่าวคือ มันจะอ่อน สามารถหล่อให้เป็นรูปต่าง ๆ ได้เมื่อได้รับความร้อนและแข็งตัวเมื่อเย็นลง แก้วตาเทียมอันแรกทำโดยบริษัท Rayner Company of Brighton, East Sussex England Prespex CQ และทำการผ่าตัดฝังให้ผู้ป่วยท่านหนึ่งเป็นพยาบาลอายุ 29 พฤศจิกายน คศ. 1949 จึงเป็นที่มีการฝังแก้วตาเทียมวัน45 ปี เมื่อวันที่ แรก เป็นที่น่าเสียดายที่สมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือวัดว่าควรใส่แก้วตาเทียมกำลังเท่าใด ผลจึงออกมาว่าหลังจากแผลหายดีตรวจพบว่า ผู้ป่วยมีสายตาสั้นเหลือมาก ทำให้สายตาหลังผ่าตัดจึงไม่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งเครื่องมือ น้ำยา (viscoeloastic) ที่ช่วยปกป้องตาดำจากการผ่าตัดยังไม่มีใช้ ทำให้การผ่าตัดกระทบกระเทือนต่อตาดำ ทำให้ตาดำอักเสบ ต้องรักษาแผลอยู่นาน

ในระยะแรก ๆ มีคนค้านการฝังแก้วตาเทียมจำนวนมาก กว่าจะเป็นที่ยอมรับอีกหลายปีต่อมา เมื่อมีการพัฒนารูปแบบของแก้วตาเทียม จัดบริเวณที่วางแก้วตาเทียมที่เหมาะ คำนวณกำลังของแก้วตาเทียมที่พอดีกับตาแต่ละคน (สามารถคำนวณแก้ไขสายตาสั้นที่มีอยู่เดิม) จึงได้รับการยอมรับและทำกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน