ยาเมฟานามิค (Mefenamic) เป็นยาในกลุ่มยาแก้ปวด โดยอยู่ในพวกเดียวกับยาเอ็นเสด (NSAIDs, non-steroidal antiinflammatory drugs) จึงเป็นทั้งยาแก้ปวดและยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อีกตัวหนึ่ง
ยาเมเฟนามิคมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) เป็นยาต้านการอักเสบและบรรเทาปวดระดับน้อยไปจน ถึงระดับปานกลางเช่น ปวดฟันหลังผ่าตัด ปวดประจำเดือน ปวดกระดูก และปวดจากโรคข้อบางชนิด นอกจากนั้นยังใช้ลดอาการไข้ได้ด้วย
กลไกการออกฤทธิ์ของยาเมเฟนามิคคือ ยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglan din) ซึ่งเป็นสารเกี่ยวข้องกับการปวด และยังลดการบีบตัวของมดลูก (ยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัด) แต่ ก็ถือว่าเป็นผลดีของยาตัวนี้ จึงใช้แพร่หลายในคนที่ปวดประจำเดือน
ยาเมเฟนามิคจัดจำหน่ายในรูปแบบของยาเม็ดและยาแคปซูล ขนาด 250 และ 500 มิลลิกรัม
ด้วยยาตัวนี้จัดเป็นยาอันตรายและมีผลข้างเคียงมากมาย จึงไม่ควรซื้อยากินเอง ขนาดของยา ที่รับประทานในผู้ใหญ่และในเด็กมีขนาดที่ต่างกัน ดังนั้นควรได้รับคำแนะนำการใช้ยาจากแพทย์หรือเภสัชกรเท่านั้น สำหรับผู้ใหญ่ขนาดสูงสุดที่รับประทานไม่ควรเกิน 500 มิลลิกรัม/ครั้งและไม่เกิน 3 ครั้ง/วัน
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาเมเฟนามิค ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
หากลืมรับประทานยาเมเฟนามิคสามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยา ใกล้กับมื้อถัดไปให้รับประทานขนาดปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า และสามารถหยุดยา ได้เมื่อหายจากอาการปวด
ผลอันไม่พึงประสงค์ ( ผลข้างเคียง ) ของยาเมเฟนามิคคือ การได้รับยานี้ต่อเนื่องอาจจะทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดแตก (เลือดจึงออกได้ง่ายและหยุดยาก) โลหิตจาง/ภาวะซีด ระคายเคืองในช่องท้อง ท้องผูก บางคนก็ท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ผิวหนังบวม หอบหืด ปวดศีรษะ ง่วงนอน หงุดหงิด ภาวะหัวใจล้มเหลว (ซึ่งอันตรายมาก) ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ลมพิษ เกิดภาวะตับและไตทำงานผิดปกติ
หมายเหตุ เห็นอาการข้างเคียงมากมายอย่างนี้ใช้ยาต้องระวัง ปรึกษาเภสัชกรหรือแพทย์ จะปลอดภัยมากขึ้น
ปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อกินยาเมเฟนามิคได้แก่
ข้อควรระวังในการใช้ยาเมเฟนามิค นอกจากกล่าวแล้วในผลไม่พึงประสงค์ พึงระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะยาก่อให้เกิดการบาดเจ็บเสียหายทั้งกับตับและไต ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคตับและ/หรือไตต้องหลีกเลี่ยง เมื่อจะใช้ยาต้องเป็นคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
ข้อห้ามใช้ยาเมเฟนามิคคือ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเลือดชนิดต่างๆ (เช่น โรคเกล็ดเลือดต่ำ) ผู้ที่ตั้งครรภ์ (ยาอาจก่อความพิการต่อทารกในครรภ์ได้) หรือหญิงที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร (ยาอาจปน ออกมากับน้ำนมและก่อผลอันไม่พึงประสงค์ต่อเด็กได้) ผู้ที่ผ่าตัดเส้นเลือดที่หัวใจและผู้ป่วยโรค หัวใจ
ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้และห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวม ถึงยาเมเฟนามิคด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ควรเก็บรักษายาเมเฟนามิคในที่แห้ง ไม่เปียกชื้น ไม่ควรเก็บยาในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือโดน แสงแดด ห้ามเก็บยาในตู้แช่แข็งของตู้เย็น และควรต้องเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
ชื่ออื่นๆทางการค้าของยาเมเฟนามิคและผู้ผลิตในประเทศไทยเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Ponstan (พอนสแตน) | Pfizer |
Mefa (เมฟา) | Macropha |
Fenamic (เฟนามิค) | Siam Bheasoch |
Prostan (โปรสแตน) | Medicine Product |
Updated 2014, Nov 22