เมื่อของเล่นมีพิษ ไม่ใช่มิตรของหนูแล้ว (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

เมื่อของเล่นมีพิษ

เมื่อเด็กได้รับสารพิษ มักแสดงออกด้วยอาการ

  • หงุดหงิดโกรธง่าย (Irritability) หรือพฤติกรรมมีปัญหา
  • ไม่มีสมาธิ
  • ปวดศีรษะ
  • ไม่อยากอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • เงื่องหงอย (Sluggishness) หรืออ่อนล้า (Fatigue)
  • ปวดช่องท้อง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • ท้องผูก
  • ผิวซีดเพราะภาวะโลหิตจาง
  • กล้ามเนื้อและข้อปวดหรืออ่อนแรง
  • ชัก

อนึ่ง เราสามารถป้องกันเด็กจากการได้รับสารตะกั่วได้โดย

  • ระวังการใช้ท่อประปาสมัยเก่าที่มีส่วนผสมของทองแดงและเชื่อมด้วยตะกั่ว หากมีการปิดใช้น้ำมานาน ควรเปิดน้ำให้ไหลทิ้งประมาณ 1-2 นาที ก่อนนำมาใช้ และเนื่องจากน้ำร้อนจะดูดซึมสารตะกั่วได้มากกว่า ดังนั้นจึงไม่ควรนำน้ำร้อนจากท่อประปามาดื่มหรือทำอาหารกิน
  • ดูแลรักษาบ้านให้สะอาด ล้างมือเด็กและของเล่นให้บ่อย กำจัดฝุ่นที่อยู่บนพื้นด้วยผ้าเปียก
  • กินอาหารที่มีแร่ธาตุที่สำคัญที่สามารถช่วยลดการดูดซึมของสารตะกั่วได้อย่าง แคลเซียม ( นม เนย โยเกิรต์ เต้าหู้ ผักใบเขียว) ธาตุเหล็ก (ถั่ว เนื้อแดงไม่ติดมัน พีนัทบัตเตอร์) และวิตามินซี (ส้ม มะเขือ พริกหยวก)
  • อย่าปล่อยให้เด็กเล่นใกล้ถนนที่ขวักไขว่และใต้สะพาน
  • ควรให้เด็กล้างมือก่อนกินอาหาร หลังการเล่น และก่อนนอน
  • ใช้ภาชนะจานชามที่ปราศจากสารตะกั่ว อย่าเก็บอาหารในภาชนะโลหะผสมดีบุกกับตะกั่ว (Pewter) คริสตัล (Crystal) หรือภาชนะดินเผาที่มีรอยแตก (Cracked pottery)

แหล่งข้อมูล

1. About Lead Poisoning. http://kidshealth.org/parent/firstaid_safe/home/lead_poisoning.html [2014, October 1].
2. Lead Poisoning. http://www.med.umich.edu/yourchild/topics/leadpois.htm [2014, October 1].
3. Information for Parents and Caregivers on Preventing Childhood Lead Poisoning. https://www.health.ny.gov/environmental/lead/parents_caregivers.htm [2014, October 1].