เด็กดื้อด้านเหลือขอ (ตอนที่ 4)

เด็กดื้อด้านเหลือขอ-4

      

      เด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้านอาจมีปัญหากับทางบ้าน ญาติ เพื่อน ครู ที่ทำงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมา เช่น

  • ผลการเรียนและการทำงานไม่ดี
  • มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม (Antisocial behavior)
  • มีปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ตนเอง (Impulse control problems)
  • ใช้สารเสพติด (Substance use disorder)
  • ฆ่าตัวตาย (Suicide)

      ทั้งนี้ มีเด็กและวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมดื้อต่อต้านเป็นจำนวนมากที่มีปัญหาทางจิตอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น

  • สมาธิสั้น (Attention-deficit/hyperactivity disorder = ADHD)
  • ความผิดปกติทางความประพฤติ (Conduct disorder = CD)
  • หดหู่ซึมเศร้า (Depression)
  • วิตกกังวล (Anxiety)
  • บกพร่องทางการเรียนรู้และการสื่อสาร (Learning and communication disorders)

      สำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ จะมีการประเมินทางจิตวิทยาต่างๆ เช่น

  • สุขภาพโดยรวม
  • พฤติกรรมที่เกิดบ่อย
  • อารมณ์และพฤติกรรมที่มีต่อความสัมพันธ์และปัจจัยต่างๆ
  • สถานการณ์และความสัมพันธ์ทางครอบครัว
  • สภาพทางสุขภาพจิต ความบกพร่องทางการเรียนรู้หรือการสื่อสาร ที่ปรากฏให้เห็น

      โดยการรักษาอาการทางจิตเหล่านี้ อาจช่วยทำให้โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้านมีอาการที่ดีขึ้น แต่หากไม่มีการวิเคราะห์รักษาอาการทางจิตเหล่านี้ได้ถูกต้อง ก็อาจทำให้โรคพฤติกรรมดื้อต่อต้านรักษาได้ยาก

      การรักษาจะช่วยให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) มากขึ้น และสามารถสร้างความสัมพันธ์ในทางบวกกับผู้อื่น

      ซึ่งการรักษาโรคพฤติกรรมดื้อต่อต้านมักเริ่มต้นบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ในครอบครัว จิตบำบัด (Psychotherapy) และการฝึกอบรมเด็กรวมทั้งพ่อแม่

      ทั้งนี้ การรักษามักใช้เวลานานหลายเดือนหรือหลายปี และต้องรักษาไปพร้อมๆ กับปัญหาร่วมที่เกิดขึ้นจึงจะได้ผล เช่น ความบกพร่องทางการเรียนรู้ เพราะกรณีที่ไม่ทำการรักษาปัญหาร่วม ก็อาจทำให้พฤติกรรมดื้อต่อต้านแย่ลง

แหล่งข้อมูล:

  1. Oppositional defiant disorder (ODD).https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/oppositional-defiant-disorder/symptoms-causes/syc-20375831 [2018, May 1].
  2. Oppositional defiant disorder (ODD). https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/oppositional-defiant-disorder-odd [2018, May 1].