เซลลล์ต้นกำเนิด ทำให้เกิดทางเลือกใหม่ (ตอนที่ 1)

เมื่อเร็วๆ นี้ รองศาสตราจารย์นายแพทย์ปรีชา สุนทรานันท์ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรม- เพื่อสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล แจ้งว่า คณะแพทยศาสตร์สนับสนุน ให้มี หน่วยงานเฉพาะเพื่อที่จะทำ หน้าที่พัฒนาและวิจัยด้านสเต็มเซลลล์ในเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการรักษาทางการแพทย์ต่อไปในอนาคต

เนื้อเยื่อดังกล่าวสามารถจัดหาได้จากการบริการสูติกรรม ซึ่งตามปกติจะมีการทิ้งเนื้อเยื่อหลังการคลอด เช่น สายสะดือ รก เป็นจำนวนมากอยู่แล้ว ในการนี้ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา ได้ประสบผลสำเร็จเป็นครั้งแรกของโลกในการคิดค้นการแยกเซลลล์ต้นกำเนิดบริสุทธิ์จากน้ำคร่ำขึ้น ซึ่งนับเป็นผลงานที่ภาคภูมิใจต่อวงการแพทย์ไทยในระดับโลก

การรักษาโรคด้วยเซลลล์ต้นกำเนิด (Stem cell) ดังที่เห็นในข่าวนั้น ถือเป็นวิธีการแบบแทรกแซงร่างกาย (Intervention) ชนิดหนึ่ง ซึ่งใส่เซลลล์ต้นกำเนิดที่โตเต็มวัย เข้าไปในเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย (Damaged tissue) เพื่อรักษาโรค หรืออาการบาดเจ็บ

นักวิจัยทางการแพทย์ หลายท่านว่า การรักษาโรคด้วยเซลล์ต้นกำเนิดนั้น มีศักยภาพที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าและบรรเทา อาการทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ประสิทธิภาพของเซลลล์ต้นกำเนิดในการ ฟื้นฟูตัวเองและทำให้เกิดเซลลล์ต้นกำเนิดสายพันธุ์ต่อๆไป ซึ่งมาพร้อมกับประสิทธิภาพในการเปลี่ยนสภาพหลากหลายระดับด้วยกัน

เซลล์ต้นกำเนิด ได้สร้างศักยภาพที่สำคัญแก่สายพันธุ์ของเนื้อเยื่อ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสามารถแทนที่บริเวณ ที่เป็นโรค หรือเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายในร่างกาย โดยที่มีความเสี่ยงที่น้อยที่สุดของการเกิดปฏิกิริยาปฏิเสธ (Rejection) สิ่งปลูกถ่าย และเกิดผลข้างเคียงได้ (Side effects)

การรักษาโรคด้วยเซลลล์ต้นกำเนิดมีอยู่จริง แต่ส่วนใหญ่มักอยู่ในขั้นทดลองหรือมีต้นทุนสูง นักวิจัยทางการแพทย์ คาดหวังว่า ทั้งเซลลล์ต้นกำเนิดที่โตเต็มวัย และที่ยังเป็นเซลล์ขั้นเริ่มต้น/เซลล์ตัวอ่อน ในที่สุดแล้วจะสามารถรักษาโรคมะเร็งและโรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 diabetes mellitus) ได้

นอกจากนี้ ยังรวมถึงโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) โรคฮันติงตัน (Huntington’s disease) โรคลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรังทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง (Celiac disease) ภาวะหัวใจล้มเหลว (Cardiac failure) อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ (Muscle damage) ความผิดปกติทางระบบประสาท (Neurological disorder) และอื่นๆ อีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่การรักษาโรคด้วยเซลล์ต้นกำเนิดจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการค้นคว้าวิจัย เพื่อเข้าใจเป็นอย่างดีก่อน ต่อพฤติกรรมของเซลล์ต้นกำเนิดเกี่ยวกับการปลูกถ่าย (Transplantation) และระบบกลไกการทำปฏิกิริยา (Interaction mechanism) ระหว่างเซลลล์ต้นกำเนิดกับสภาพแวดล้อมทางจุลภาค (Micro-environment) ของโรคที่เป็น หรือของการบาดเจ็บที่ได้รับ

แหล่งข้อมูล:

  1. “ศิริราช” เตรียมแถลงผลสำเร็จ แยกเซลลล์ต้นกำเนิดบริสุทธิ์จาก “น้ำคร่ำ” ครั้งแรกของโลก http://www.naewna.com/local/25835 [2012, October 18].
  2. Stem cell treatments. http://en.wikipedia.org/wiki/Stem_cell_treatments#Thailand [2012, October 18].