เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: ชนิดของการขาดอาหาร

เข้าครัวกับโภชนากร

การขาดอาหาร สามารถจําแนกได้หลายแบบตามสาเหตุของการเกิด ตามชนิดของการขาดอาหาร และตามความรุนแรงของการขาดอาหาร โดยมีวัตถุประสงค์ การจําแนกเพื่อการวินิจฉัย วางแผนการรักษา ติดตาม และป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการซ้ำในผู้ป่วย

การจําแนก การขาดโปรตีนและพลังงาน ตามสาเหตุการเกิด

  1. การขาดอาหารปฐมภูมิ (primary PEM) เกิดจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอหรือกินไม่ถูกส่วน
  2. การขาดอาหารทุติยภูมิ (secondary PEM) เกิดจากสาเหตุต่างๆที่ทําให้ ระบบการย่อยการดูดซึม ความต้องการสารอาหาร และการสูญเสียสารอาหารผิดปกติไป

ชนิดของการขาดโปรตีนและพลังงาน (type of PEM)

  1. Marasmus มักเกิดจากการขาดพลังงานเป็นหลัก (total energy deficiency) มักเป็นจากการขาดอาหาร เป็นเวลานานร่างกายจะมี การปรับตัวต่อการขาดอาหารได้ค่อนข้างดี ผู้ป่วยจะมีลักษณะผอม ไขมันใต้ผิวหนังน้อย กล้ามเนื้อฝ่อลีบ แบบหนังหุ้มกระดูก (skin and bone appearance) แต่ไม่มีอาการบวม ระดับโปรตีนในเลือดมักปกติ ภูมิคุ้มกันมักไม่บกพร่องมาก ยกเว้นในกรณีรุนแรงมาก
  2. Kwarshiokor มักเกิดจากการขาดโปรตีนเป็นหลัก(protein deficiency) แต่ไม่ขาดพลังงานมากนัก พบในเด็กในประเทศกําลังพัฒนาที่ บริโภคคาร์โบไฮเดรตเป็นหลัก แต่ได้รับโปรตีนไม่พอ ผู้ป่วยมักไม่ผอมแต่จะมีอาการบวม จากการที่ระดับโปรตีนในเลือดต่ำ มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การพยากรณ์โรคจะแย่กวา marasmus
  3. Marasmic - kwarshiokor พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการขาดทั้งพลังงานและโปรตีน มักเกิดจากการขาดอาหารทุติยภูมิ การปรับตัวของร่างกาย ต่อการขาดโปรตีนและพลังงานไม่ดี เนื่องจากมีสาเหตุและภาวะที่ทําให้ การปรับตัวล้มเหลว เช่น มีการติดเชื้อ

ความรุนแรงของการขาดโปรตีนและพลังงาน(severity of PEM)

  1. รุนแรงนอย มีดัชนีมวลกาย (body mass index : BMI) ระหวาง 17.0-18.5 กก./ตรม.
  2. รุนแรงปานกลาง มีดัชนีมวลกาย ระหว่าง 16.90-17 กก./ตรม.
  3. รุนแรงมาก มีดัชนีกาย ต่ำกว่า 16 กก./ตรม.

อย่างไรก็ดี การวัดด้วยค่า BMI เป็นเพียงการชี้วัดในเบื้องต้นเท่านั้นไม่สามารถบอกการวินิจฉัยในผู้ปวยได้ ทุกรายหรือทุกภาวะ ผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย ระหว่าง 17-18.5 กก/ตรม. อาจไม่มี อาการหรือได้รับผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการเลย ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีดัชนีมวลกาย สูงกว่า 18 กก/ตรม.อาจจะมีการขาดโปรตีนอย่างรุนแรงได้ ดังนั้นจึงต้องมีวิธีการประเมินทางโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสม

บรรณานุกรม

  1. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.
  2. ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.