เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: โภชนาการกับไวรัสตับอักเสบ ตอนที่ 1

เข้าครัวกับโภชนากร

โภชนาการมีความสำคัญมากต่อตับ 85 - 90% ของเลือดซึ่งไหลเวียนออกไปจากกระเพาะอาหารและลำไส้ มีสารอาหารที่มีความสำคัญต่อตับ สารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นสารต่าง ๆ ที่ร่างกายสามารถจะนำไปใช้ได้ ตับทำหน้าที่หลายอย่างที่เป็นหน้าที่ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการเผาผลาญอาหาร ตับมีหน้าที่สร้างคาร์โบไฮเดรตโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ต่างๆให้สามารถนำไปใช้ทำให้ร่างกายสามารถมีสภาวะปรกติอยู่ได้ สามารถที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปรกติ

คาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาล จะถูกเก็บเป็นไกลโคเจน อยู่ในตับ แล้วปล่อยเป็นพลังงานในระหว่างมื้ออาหาร เมื่อร่างกายมีความต้องการพลังงานมาก ตับจะช่วยในการกำหนดระดับน้ำตาลในเลือด เพื่อที่จะป้องกันสภาพที่เรียกว่า ไฮโปรไกลซีเมีย HYPOGLYCEMIA หรือที่เรียกว่าสภาวะน้ำตาลต่ำ ทำให้เราสามารถที่จะรักษาระดับของพลังงานได้สม่ำเสมอ ถ้าปราศจากความสมดุลที่เกิดจากตับนี้เราคงจำเป็นจะต้องกินอาหารตลอดเวลา เพื่อให้พอกับพลังงานที่เราใช้ไป

โปรตีน สามารถเข้าถึงตับได้ในรูปแบบที่เรียกว่ากรดอะมิโน เมื่อเข้าไปอยู่ในตับแล้วกรดอะมิโนจะถูกปล่อยออกมาที่กล้ามเนื้อในรูปพลังงาน หรือเก็บไว้ใช้ใน หรือถูกแปรเปลี่ยนเป็นกรดยูเรียเพื่อที่จะขับออกไปในรูปปัสสาวะ โปรตีนบางชนิดถูกแปรเปลี่ยนเป็นแอมโมเนียซึ่ง เป็นลักษณะที่เป็นพิษแอมโมเนียจะต้องได้รับการย่อยสลายโดยตับแล้วก็ทำให้เป็นกลายเป็นยูเรียเพื่อที่จะสามารถขจัดออกไปได้ผ่านทางไต นอกจากนี้ตับยังมีความสามารถพิเศษในการที่จะแปรเปลี่ยนกรดอะมีโนบางชนิดเป็นน้ำตาลเพื่อที่จะเป็นแหล่งสร้างพลังงานอย่างรวดเร็วได้ด้วย

ไขมัน จะไม่สามารถการย่อยสลายได้ถ้าไม่มีน้ำดี น้ำดีถูกผลิตโดยตับแล้วเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ฉะนั้นการย่อยไขมันเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็ก น้ำดีทำหน้าที่คล้าย ๆ กับผงซักฟอก เพื่อที่จะย่อยสลายโมเลกุลของไขมันให้เล็กลง ให้สามารถดูดซึมออกไปใช้ได้เพราะโมเลกุลของไขมันใหญ่เกินไป น้ำดีมีความสำคัญต่อการดูดซึมวิตามิน โดยเฉพาะวิตามิน เอ ดี อี เค ที่ละลายในไขมัน

โรคตับอักเสบเกิดจากเชื้อไวรัสหลายชนิด เชื้อไวรัสจะทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลันและทำลายเซลล์ตับ ในรายที่อาการไม่รุนแรงและได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ เซลล์ตับจะฟื้นตัวได้ แต่ถ้าอาการรุนแรง จะทำให้เซลล์ตับตาย เนื้อเซลตับที่ดีเหลือน้อยลง ทำให้ตับเกิดโรคตับแข็งได้

อ้างอิง

สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เข้าถึงได้จาก http://www.thasl.org/th/news.php