เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) :ตอน อาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ตอนที่ 1

หญิงตั้งครรภ์ ควรได้รับสารอาหารที่ดี และมีประโยชน์ เพื่อให้ร่างกายเกิดความสมบูรณ์ สามารถที่จะห่อหุ้มเป็นเกราะป้องกันทารกในครรภ์ให้ปลอดภัยจากสิ่งรบกวนที่เป็นอันตราย เพราะการขาดอาหารของแม่ มีผลต่อการพัฒนาของทารกทั้งด้านร่างกายและสมอง นอกเหนือจากพันธุกรรม ซึ่งอาจมีผลอย่างถาวร นอกจากนั้นแล้วอาหารที่กินเข้าไป ส่วนหนึ่งก็จะถูกส่งต่อให้กับทารกในครรภ์ได้นำไปพัฒนาอวัยวะต่างๆ ให้มีความสมบูรณ์พร้อมในตลอดทั้ง 9 เดือน หรือประมาณ 40 สัปดาห์ จนกว่าจะคลอดลูกได้อย่างปลอดภัย

สารอาหารที่มีประโยชน์สำหรับหญิงมีครรภ์
สารอาหาร ผลต่อสุขภาพ แหล่งอาหาร
กรดโฟลิค ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น ความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ช่วง 2-3 เดือนก่อนคลอด ผักใบเขียว บล็อกโคลี่ ตับ ถั่วเขียว ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง มันฝรั่ง ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ส้ม นม และไข่ การรับประทานผักควรเลือกรับประทานแบบสด หรือผ่านการลวกเร็วๆ เพราะความร้อนจะทำลายกรดโฟลิคในผักใบเขียว
ธาตุเหล็กและวิตามินซี ธาตุเหล็กเป็นหนึ่งในสารอาหารหลักที่คุณแม่ต้องการตลอดเวลาในช่วงการตั้งครรภ์ เพราะเป็นสารสำคัญในการช่วยให้ออกซิเจนไหลเวียนไปกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นสิ่งที่ลูกน้อยในครรภ์ใช้ในการพัฒนาสมอง หากขาดธาตุเหล็ก ลูกในครรภ์อาจจะไม่เป็นอะไร แต่ตัวคุณแม่ จะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะโลหิตจางซึ่งจะทำให้คุณแม่รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย และไม่สบาย เนื้อสัตว์ต่างๆ เนื้อปลา ไข่ ผลไม้แห้ง ซีเรียล ธัญพืช และผักใบเขียว ธาตุเหล็กจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี หากคุณแม่รับประทาน ผักและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงไปพร้อมกัน จะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น
กรดไขมัน-โอเมก้า3 การได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 ระหว่างการตั้งครรภ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นสารที่ช่วยให้ระบบประสาทของลูกน้อยพัฒนาได้ดี ทั้งยังช่วยป้องกันโรคหัวใจให้กับคุณแม่ได้ นอกจากนั้น จากการศึกษาพบว่าการได้รับไขมันโอเมก้า ระหว่างการตั้งครรภ์จะทำให้ลูกน้อยฉลาดขึ้นอีกด้วย ปลาซาร์ดีน และปลาแซลมอน ต่างก็มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อยู่สูง แต่คุณแม่ก็ไม่ควรรับประทานมากกว่า 2 ช้อนโต๊ะต่อสัปดาห์ เพราะอาจมีระดับของสารปรอทตกค้างสูงในเนื้อปลาได้ กรดไขมันโอเมก้า 3 สามารถรับประทานจากแหล่งอื่น เช่น เมล็ดฟักทอง หรือถั่วเหลือง ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะต่อวัน
วิตามินเอ(เบต้าแคโรทีน) เพิ่มการทำงานของเซลล์ที่ดักจับเชื้อโรค แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ พริกหยวกสีแดง สีเหลืองและสีส้ม มะม่วงสุก มะละกอสุก แคนตาลูป มันฝรั่งหวาน เป็นต้น
ไอโอดีน การขาดไอโอดีน อาจก่อให้เกิดภาวะแท้งหรือตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เพิ่มอัตราป่วยและอัตราตายในทารกช่วงอายุ 28 สัปดาห์ในครรภ์ จนถึง 28 วันแรกหลังคลอด ปัญญาอ่อนอย่างถาวร เชาว์ปัญญาลดลง สูญเสียการได้ยิน และมีความผิดปกติทางระบบประสาทและการเคลื่อนไหว อาหารทะเลต่างๆ เกลืออนามัย เกลือเสริมไอโอดีน

คุณแม่ควรจะดูแลน้ำหนัก มากน้อยเท่าไร?

เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าคุณแม่จะมีน้ำหนักตัวขึ้น ในระหว่างการตั้งครรภ์ เพราะคุณแม่มีทารกน้อยที่กำลังเติบโตอยู่ในท้อง แต่ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ที่ปกติและมีการเผาผลาญที่ดี น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตอนตั้งครรภ์ควรอยู่ที่ 10 - 13 กก. เท่านั้น

สำหรับความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น เฉพาะในระยะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก น้ำหนักควรเพิ่มประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลัง 3 เดือน น้ำหนักแม่ควรเพิ่มเฉลี่ยเดือนละ 1.5 กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดัชนีมวลกายของแม่ก่อนตั้งครรภ์ ดังนี้

สารอาหารที่มีประโยชน์สำหรับหญิงมีครรภ์
ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักตัวที่ควรเพิ่มระหว่างตั้งครรภ์ (กิโลกรัม)
19.8 12.5-18
19.8-26 11.5-16
>26-29 7-11.5

ขอจบอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ตอนที่ 1 ก่อนะคะ ครั้งหน้าจะเป็นตอนที่ 2 คะ

แหล่งข้อมูล:

  1. จรรยาภรณ์. อาหารที่ดีต่อสุขภาพตั้งครรภ์ [ อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ13 มีนาคม 2556].เข้าได้จาก www.dumex.co.th › dads › Pages.
  2. ประไพศรี ศิริจักรวาล. อาหารและโภชนาการกับวงจรชีวิต.การประเมินตนเองสู่การเป็นนักกำหนดอาหารวิชาชีพ:เมตตาก๊อปปี้ปริ้น; พศ. 2551.หน้า30-30.
  3. พวงน้อย สาครรัตนกุล .โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์[ อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ13 มีนาคม 2556].เข้าได้ http://www.doctor.or.th/article/detail/3591.