อากาศที่ไม่เป็นมิตร (ตอนที่ 4)

อากาศที่ไม่เป็นมิตร-4

      

      สำหรับแหล่งที่มาของมลพิษทางอากาศนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 อย่าง คือ

      1. แหล่งกําเนิดที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (Anthropogenic source) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการเผาเป็นหลัก เช่น

  • แหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ (Stationary sources) เช่น ควันจากปล่องไฟของโรงไฟฟ้าพลังงานฟอสซิล (Fossil fuel power stations) โรงงานอุตสาหกรรม การเผาขยะ (Waste incinerators) เตาหลอม (Furnaces) การเผาไม้ การเผาหญ้า
  • แหล่งกำเนิดที่เคลื่อนที่ได้ (Mobile sources) เช่น รถยนต์ เรือ เครื่องบิน
  • การเผาที่มีการควบคุม (Controlled burn) ซึ่งเป็นวิธีที่บางครั้งใช้ในการบริหารจัดการป่าไม้ การทำเกษตร
  • ควัน (Fumes) จากสี สเปรย์ผม น้ำมันเคลือบเงา (Varnish) ยาฆ่าแมลงชนิดกระป๋องอัดอากาศ (Aerosol sprays) และสารตัวทำลาลาย (Solvents) อื่นๆ
  • การกำจัดของเสีย (Waste deposition) ที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน
  • แหล่งทางการทหาร เช่น อาวุธนิวเคลียร์ ก๊าซพิษ สงครามเชื้อโรค (Germ warfare) และจรวด (Rocketry)
  • พื้นที่เกษตรที่ใส่ปุ๋ย ก็อาจเป็นแหล่งใหญ่ของไนโตรเจนออกไซด์

      2. แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ (Natural sources) เช่น

  • ฝุ่นตามธรรมชติ
  • ก๊าซมีเทนที่เกิดจากการย่อยสลายของอาหารโดยสัตว์ เช่น วัว
  • ก๊าซเรดอนที่เกิดจากการย่อยสลายของกัมมันตรังสีในเปลือกโลก
  • ควันและคาร์บอนมอนอกไซด์จากไฟป่า
  • พืชพรรณ (Vegetation) ในบางพื้นที่ที่ก่อให้เกิดสารอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile organic compounds = VOCs) เมื่อทำปฏิกริยากับสารมลพิษปฐมภูมิที่เกิดจากมนุษย์ก็จะก่อให้เกิดสารมลพิษทุติยภูมิเป็นเมฆหมอกในบางช่วงฤดู เช่น ต้นโอ๊ค (Oak) ต้นวิลโลว์ (Willow)
  • ภูเขาไฟปะทุ ซึ่งก่อให้เกิดซัลเฟอร์ คลอรีน และเถ้าถ่าน

      ทั้งนี้ ตัวอย่างของสารมลพิษ (Pollutants) ได้แก่

  • คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide = CO2) ที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ซึ่งถือเป็นสารมลพิษตัวสำคัญและเป็นตัวที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศที่แย่ที่สุด โดยปัจจุบัน ในแต่ละปีจะมีคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงซากดึกดําบรรพ์ (Fossil fuels) เป็นพันล้านเมตริกตัน (Metric tons)

แหล่งข้อมูล:

  1. Air pollution. https://en.wikipedia.org/wiki/Air_pollution [2018, March 10].