อันตรายจากขนมควันทะลัก (ตอนที่ 2)

อันตรายจากขนมควันทะลัก

ไนโตรเจนเหลวมีอุณหภูมิต่ำมากๆ อยู่ที่ -210 °C (-346 °F หรือ 63 K) และสามารถไหม้ได้ทันทีหากสัมผัสกับวัตถุที่ร้อนกว่า ซึ่งทำเกิดปรากฏการณ์ Leidenfrost effect

[Leidenfrost effect เป็นปรากฏการณ์เมื่อของเหลวสัมผัสกับของแข็งที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดเดือดของของเหลวนั้นมากๆ จนระเหยกลายเป็นก๊าซในทันที ซึ่งก๊าซเหล่านี้จะไปผลักดันให้โมเลกุลของเหลวที่เหลือลอยอยู่เหนือผิวของแข็ง ทำให้ของเหลวไม่สัมผัสกับของแข็งโดยตรง

ปรากฏการณ์ Leidenfrost effect จะช่วยชะลออัตราการถ่ายโอนความร้อนจากมือไปยังไนโตรเจนเหลว ทำให้เวลาที่เอามือจุ่มลงไปในไนโตรเจนเหลว จะรู้สึกเย็นแต่ไม่แข็งในทันที แต่หากยังคงแช่มือไว้ในนั้นต่อไป มือจะเย็นลงเรื่อยๆ จนความต่างของอุณหภูมิไม่มากพอที่จะทำให้เกิด Leidenfrost effect เมื่อนั้นไนโตรเจนเหลวจะสัมผัสกับมือโดยตรง และมือจะแข็งอย่างรวดเร็ว ทำให้เนื้อเยื่อที่สัมผัสได้รับความเสียหายจากการโดนกัด (Frost bite)]

ไนโตรเจนเหลวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

  • การบำบัดด้วยความเย็นจัด (Cryotherapy) เพื่อแยกผิวหนังส่วนที่อาจเป็นเนื้อร้าย (Malignant) เช่น หูด (Warts) และมะเร็งผิวหนังระยะเริ่มต้น (Actinic keratosis)
  • เพื่อเก็บรักษาเซลล์สำหรับการทดสอบในห้องแล้ป
  • การแช่แข็งอวัยวะ (Cryogenics)
  • การแช่แข็งเพื่อรักษาสภาพของเลือด เซลล์หรือเนื้อเยื่อ เช่น ไข่ และ อสุจิ
  • แช่แข็งและขนส่งผลิตภัณฑ์อาหาร
  • ใช้ในกระบวนการจัดการกับศพที่เรียกว่า Promession [โดยวิธีของกระบวนการของนี้คือ การนำร่างไปจุ่มในไนโตรเจนเหลวซึ่งทำให้ร่างกายเย็นจนแข็ง จากนั้นใช้คลื่นอัลตราซาวด์ทำให้ร่างกายกลายเป็นผุยผงภายในชั่วพริบตา โดยเถ้าที่เหลือจะถูกบรรจุไว้ในกล่องที่ทำจากแป้งข้าวโพด (ย่อยสลายได้ง่าย) แล้วนำไปฝังไว้ในหลุมตื้นๆ ด้วยวิธีนี้จะไม่เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยให้พื้นดินสมบูรณ์ขึ้นอีกด้วย]
  • เป็นตัวทำให้เย็น (Coolant)
  • ใช้ในระบบป้องกันไฟไหม้ (Hypoxic air fire prevention systems)
  • ใช้ในการเตรียมอาหาร เช่น ทำให้ไอศกรีมมีเนื้อนุ่มขึ้น
  • ทำเครื่องหมายบนตัววัว (Branding cattle)
  • ทำค็อกเทลมีควัน (Liquid nitrogen cocktail)
  • ใช้ทำฝนเทียม

เพราะไนโตรเจนเหลวจับความร้อนได้เร็วมากและกลายตัวเป็นก๊าซ จึงสามารถกัดกระเพาะได้ การกินไนโตรเจนเหลวจึงทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของคนที่กิน โดยในต่างประเทศมีกรณีที่รายงานว่า เด็กวัยรุ่นกินค็อกเทลที่ผสมไนโตรเจนเหลวลงไป ทำให้กระเพาะทะลุ ต้องทำการผ่าตัดฉุกเฉินเพื่อห้ามเลือดและเย็บกระเพาะ ดังนั้นทางที่ปลอดภัยในการกิน จึงต้องรอให้ควันจางก่อนค่อยลงมือกิน

และเนื่องจากไนโตรเจนเหลว ไม่มีสี ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น หากมีการสูดดมเข้าในร่างกาย อาจทำให้มีอาการหายใจไม่ออก (Asphyxia) โดยไม่มีสัญญาณเตือนแต่อย่างใด

ส่วนวิธีที่ปลอดภัยในการใช้ไนโตรเจนเหลวทำอาหารก็คือ ระวังเรื่องการเก็บในภาชนะเฉพาะ การสวมแว่น การใส่ถุงมือหรือผ้ากันเปื้อนที่กันน้ำ (Waterproof)

แหล่งข้อมูล

1. Liquid nitrogen. https://en.wikipedia.org/wiki/Liquid_nitrogen [2017, April 30].

2. Who What Why: How dangerous is liquid nitrogen? http://www.bbc.com/news/magazine-19870668 [2017, April 30].