หูตึงเพราะตัวเอง (ตอนที่ 8 และตอนจบ)

หูตึงเพราะตัวเอง-8

      

      ระดับเสียงปานกลาง (Moderate)

• 60 dB = การพูดปกติ (Typical conversation) เครื่องล้างจาน (Dishwasher) เครื่องอบผ้า (Clothes dryer)

• 50 dB = ฝนตกปานกลาง (Moderate rainfall)

• 40 dB = ห้องเงียบ (Quiet room)

      ระดับเสียงเบา (Faint)

• 30 dB = เสียงกระซิบ (Whisper)

      1. ให้ระวังเวลาฟังดนตรีผ่านหูฟังซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่อันตรายมากต่อการได้ยิน โดยเราสามารถหลีกเลี่ยงการทำลายการได้ยินด้วยการ

• ใช้หูฟังที่ตัดเสียงรบกวนภายนอก (Noise-cancelling earphones) แทนที่จะใช้วิธีการเปิดเสียงดังเพื่อกลบเสียงภายนอก

• เปิดระดับเสียงให้พอได้ยินเสียงดนตรีอย่างสบายๆ ไม่มากเกินไป

• อย่าเปิดเสียงเกินร้อยละ 60 ของระดับเสียงสูงสุด (Maximum volume)

• อย่าใช้หูฟังเกินครั้งละ 1 ชั่วโมง และให้พักหูอย่างน้อย 5 นาทีในทุกชั่วโมง

      2. ป้องกันการได้ยินระหว่างที่อยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น ในไนท์คลับ การแสดงดนตรี เป็นต้น ด้วยการ

• อยู่ให้ห่างจากแหล่งกำเนิดเสียงดัง เช่น ลำโพง เครื่องกระจายเสียง (Loudspeakers)

• พยายามพักหูทุก 15 นาที

• ให้เวลาประมาณ 18 ชั่วโมงในการฟื้นตัวจากการได้ยินเสียงดัง

• ใส่ที่อุดหู (Earplugs)

      3. ระมัดระวังในการทำงานที่มีเสียงดัง ด้วยการ

• ใช้อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ที่ครอบหู (Ear muffs) ที่อุดหู (Earplugs)

• อย่าอยู่ในที่มีเสียงดังเป็นระยะเวลานาน

      4. หาอุปกรณ์ที่ใช้ในบ้าน (Home appliances) ที่มีเสียงค่อย

      5. อย่าใช้คอนตอนบัด (Cotton bud) แคะหู เพราะจะทำให้ขี้หูถูกดันเข้าไปลึก หากมีปัญหาควรให้แพทย์ทำการเอาขี้หูออกให้

      6. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือการเป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง

      7. ระวังเรื่องการใช้ยาที่มีผลต่อการได้ยิน

      8. ตรวจการได้ยิน (Hearing checks) ตามระยะเวลา เช่น ปีละครั้ง

แหล่งข้อมูล:

  1. Hearing loss. https://www.nhs.uk/conditions/hearing-loss/ [2018, March 25].
  2. 8 Ways to Prevent Hearing Loss. . https://www.webmd.com/a-to-z-guides/hearing-loss-prevention#1 [2018, March 25].