หูตึงเพราะตัวเอง (ตอนที่ 7)

หูตึงเพราะตัวเอง-7

      

      1. ใช้วิธีอื่นในการสื่อสารติดต่อ เช่น

  • การอ่านริมฝีปาก (Lip-reading)
  • การใช้ภาษาสัญญลักษณ์ (Sign language) เช่น ภาษามือ การแสดงออกทางสีหน้า และภาษาร่างกาย

      สำหรับการป้องกันการสูญเสียการได้ยินนั้น แม้จะทำไม่ได้ทั้งหมด แต่เราสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการทำลายการได้ยินได้ด้วยการ

      1. หลีกเลี่ยงเสียงดังให้มากที่สุด – โดยระดับเสียงดังจะถูกวัดเป็นหน่วยเดซิเบล (Decibels = dB) ยิ่งเสียงดังมาก ระดับเดซิเบลจะมาก โดยระดับถือว่าเป็นอันตรายก็คือ ระดับเสียงที่เกิน 85 dB โดยเฉพาะกรณีที่ต้องฟังเสียงเป็นระยะเวลานาน ทั้งนี้ ตัวอย่างของระดับเสียง เช่น

      ระดับเสียงที่ทำให้ปวดหู (Painful)

  • 150 dB = เสียงจุดพลุที่ห่าง 3 ฟุต
  • 140 dB = เสียงปืน เครื่องยนต์ไอพ่น (Jet engine)
  • 130 dB = เครื่องเจาะหินด้วยแรงอัดของอากาศ (Jackhammer)
  • 120 dB = เครื่องบินทะยานขึ้นฟ้า เสียงหวอ (Siren)

      ระดับเสียงที่ดังมากสุด (Extremely Loud)

  • 110 dB = ระดับเสียงสูงสุดของเครื่องเล่น MP3 (MP3 players) เครื่องบินเล็ก (Model airplane) เลื่อยที่มีใบเลื่อยหมุนต่อเนื่องกันโดยใช้มอเตอร์ (Chain saw)
  • 106 dB = เครื่องตัดหญ้า (Gas lawn mower)
  • 100 dB = สว่านมือ (Hand drill) เครื่องเจาะที่ใช้ลม (Pneumatic drill)
  • 90 dB = รถใต้ดิน (Subway) รถมอเตอร์ไซด์ (Passing motorcycle)

      ระดับเสียงดังมาก (Very Loud)

  • 80–90 dB = เครื่องเป่าผม (Blow-dryer) เครื่องปั่นอาหาร (Kitchen blender)
  • 70 dB = การจราจรที่คับคั่ง (Busy traffic) เครื่องดูดฝุ่น (Vacuum cleaner) นาฬิกาปลุก (Alarm clock)

แหล่งข้อมูล:

  1. Hearing loss. https://www.nhs.uk/conditions/hearing-loss/ [2018, March 24].