หูดับแต่ตับไม่ไหม้ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

หูดับแต่ตับไม่ไหม้-2

สำหรับอาการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในคนนั้น โดยทั่วไปได้แก่ อาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ อาเจียน และอาจมีอาการเลือดออกทางผิวหนัง นอกจากนี้อาจทำให้เป็น

  • โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis)
  • โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
  • โรคข้ออักเสบ (Arthritis)
  • เยื่อบุหัวใจอักเสบ (Endocarditis)
  • กลุ่มอาการสเตรปโตคอกคัสท็อกสิกช็อก(Sstreptococcal toxic shock-like syndrome = STSS)
  • หูหนวก (Deafness)
  • เส้นประสาทการทรงตัวในหูทำงานผิดปกติ (Vestibular dysfunction)
  • โดยผู้ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อมาก ได้แก่ ผู้เลี้ยงหมู คนที่ทำงานในโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ทำหน้าที่ขนส่งเนื้อหมู พ่อค้าหมู ผู้ทำอาหาร และผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ (Immunocompromised host) เช่น ผู้ที่ตัดม้ามออก ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคพิษสุรา (Alcoholism)

    สำหรับการวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วย

    • การตรวจเลือด (Blood samples)
    • การตรวจน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง (Cerebrospinal fluid = CSF)
    • การตรวจน้ำไขข้อ (Joint fluid)
    • ส่วนการรักษาสามารถทำได้ด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ เช่น ยา Penicillins ยา Cephalosporins ยา Ceftriazone เป็นต้น

      เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่ใช้ป้องกันการติดเชื้อนี้ ดังนั้นการป้องกันที่ทำได้ คือ

      • ใส่ถุงมือเมื่อต้องสัมผัสกับหมูเป็นๆ และซากหมู กรณีผู้ที่มีแผลที่ผิวหนังต้องปิดแผลให้มิดชิด
      • ล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัว ให้สะอาดหลังการสัมผัส
      • หลีกเลี่ยงการกินเนื้อหมูสุกๆ ดิบๆ
      • เลือกซื้อเนื้อหมูจากตลาดหรือโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐาน ไม่ซื้อเนื้อหมูที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำเนื้อยุบ
      • ควรทำให้สุกด้วยอุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 10 นาที

      แหล่งข้อมูล:

      1. Streptococcus suis. http://ecdc.europa.eu/en/healthtopics/streptococcus_suis/Pages/index.aspx [2017, June 02].
      2. Streptococcus suis Infection. http://www.chp.gov.hk/en/content/9/24/3648.html [2017, June 02].