หายใจไม่ออกเหมือนปอดอุดกั้น (ตอนที่ 2)

ขหายใจไม่ออกเหมือนปอดอุดกั้น

สาเหตุหลักของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในประเทศที่พัฒนาแล้ว คือ การสูบบุหรี่หรือยาสูบ ส่วนในประเทศที่กำลังพัฒนา มักมีสาเหตุมาจากการสัมผัสกับควันจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง ไอระเหยของสารเคมี และระบบการถ่ายเทอากาศที่ไม่ดี

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่

  • การสูบบุหรี่หรือยาสูบเป็นระยะเวลานาน เพราะยิ่งสูบนานยิ่งมีโอกาสเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสูบไปป์ (Pipe) ซิการ์ (Cigar) หรือกัญชา (Marijuana) ตลอดจนผู้ที่สูดดม ควันมือสอง (Secondhand smoke) มลพิษทางอากาศ (Air pollution) ฝุ่น หรือ ควัน (โดยมีนักสูบร้อยละ 25 ที่เป็นโรคนี้)
  • ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดแล้วสูบบุหรี่
  • ผ็ที่ต้องทำงานสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมี ซึ่งทำให้ฝุ่น ควันและไอระเหยของสารเคมี ระคายเคืองปอดและทำให้ปอดอักเสบ
  • อายุ – เนื่องจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นโรคที่ค่อยๆ สะสมนานหลายปี ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะปรากฏอาการเริ่มแรกตอนอายุอย่างต่ำ 35 - 40 ปี
  • พันธุกรรม - โดยร้อยละ 1 ของผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม เช่น การมีโปรตีนที่เรียกว่า Alpha-1-antitrypsin (AAt) อยู่ในระดับที่ต่ำ [Alpha-1-antitrypsin จะถูกผลิตในตับและไหลเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อช่วยป้องกันปอด การขาด AAt จะมีผลต่อตับและปอดที่ถูกทำลาย]
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนด (Preterm baby) ที่ต้องอาศัยการบำบัดด้วยออกซิเจนเป็นเวลานานเนื่องจากปอดยังโตไม่เต็มที่ การรักษานี้สามารถทำให้เกิดการเจริญผิดปกติของหลอดลมและเนื้อปอด (Neonatal chronic lung disease) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในภายหลัง

โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ได้แก่

  • โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ – ผู้ที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะไวต่อเชื้อทางเดินหายใจ ทำให้เป็นหวัด นิวมอเนีย ได้ง่าย หายใจลำบาก ซึ่งมีผลทำให้เนื้อเยื่อที่ปอดถูกทำลาย ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อน
  • โรคหัวใจ – ทำให้มีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากขึ้น
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหดหู่ซึมเศร้า – เพราะหายใจลำบาก จึงทำให้ร่างกายไม่อยากทำกิจกรรมอะไร

มักมีการวินิจฉัยผิดเกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังอยู่เสมอ เพราะผู้ที่สูบบุหรี่มากนานมักจะคิดว่าตัวเองเป็นโรคนี้แต่กลับเป็นโรคปอดธรรมดา ในขณะที่ผู้เป็นโรคนี้กลับตรวจไม่พบจนกระทั่งโรคได้พัฒนาไปมาก

แหล่งข้อมูล

1. COPD. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/copd/basics/definition/con-20032017[2016, March 3].

2. COPD (Chronic Obstructive Pulmonary Disease) - Topic Overview. http://www.webmd.com/lung/copd/tc/chronic-obstructive-pulmonary-disease-copd-overview [2016, March 3].