หลับระทม (ตอนที่ 7 และตอนจบ)

หลับระทม-7
  • การใช้แพทย์ทางเลือก เช่น
    • อาหารเสริมเมลาโทนิน (Melatonin) ซึ่งควรใช้ในระยะเวลาสั้นๆ 1-2 สัปดาห์ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ชัดเจนว่า เมลาโทนินสามารถรักษาอาการนอนไม่หลับและมีความปลอดภัยต่อการใช้เป็นระยะเวลานานหรือไม่
    • อาหารเสริมวาเลอเรียน (Valerian) เช่นเดียวกัน อาหารเสริมชนิดนี้ก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนว่า การใช้เป็นระยะเวลานานจะมีผลต่อการทำลายตับหรือไม่
    • การฝังเข็ม (Acupuncture)
    • การเล่นโยคะหรือไทเก็ก (Tai chi)
    • การทำสมาธิ (Meditation)

สำหรับการดูแลตัวเองอาจทำได้ด้วยการ

  • นอนและตื่นให้เป็นเวลาทุกวัน รวมถึงวันหยุด
  • ทำกิจกรรมออกกำลังกาย
  • ตรวจสอบยาที่ใช้หรืออาหารเสริมทุกชนิด ว่ามีผลต่ออาการนอนไม่หลับหรือไม่ เช่น มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือสารกระตุ้นอย่างยาซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine)
  • หลีกเลี่ยงการงีบหลับหรือจำกัดเวลางีบหลับไม่ให้เกิน 30 นาที และไม่ควรงีบหลับหลังเวลา 15.00 น. เพราะจะทำให้การนอนหลับตอนกลางคืนยากขึ้น
  • หลีกเลี่ยงหรือจำกัดคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และนิโคติน
  • อย่าปล่อยอาการปวดทุกชนิดรบกวนการนอน ให้ปรึกษาแพทย์เรื่องอาการปวด
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารหนักและเครื่องดื่มก่อนเข้านอน เพราะการกินอาหารอาจทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อน และการดื่มน้ำก่อนเข้านอนอาจทำให้ปวดปัสสาวะกลางดึก ซึ่งทำให้ตื่นและรบกวนเวลานอน
  • อยู่ห่างจากอุปกรณ์อิเลคโทรนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ เพราะแสงจากอุปกรณ์เหล่านี้สามารถทำให้สมองตื่นตัวและหลับยาก

ในช่วงระหว่างเวลานอน

  • ทำห้องนอนให้เหมาะแก่การนอน ปราศจากแสงและเสียง มีอุณหภูมิที่สบาย
  • หาวิธีผ่อนคลาย เช่น พยายามวางความวิตกกังวลและการวางแผนเมื่อเข้านอน อาบน้ำอุ่นหรือนวดตัวก่อนนอน ฝึกหายใจ เป็นต้น
  • อย่าพยายามทำให้หลับ เพราะยิ่งพยายามหลับยิ่งตื่น ให้ทำตัวสบายๆ
  • ลุกจากเตียงเมื่อไม่ได้นอน

แหล่งข้อมูล:

  1. Insomnia http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/home/ovc-20256955 [2017, May 21].
  2. Insomnia https://sleepfoundation.org/insomnia/content/what-causes-insomnia [2017, May 21].
  3. Insomnia: Causes, Symptoms, and Treatments. http://www.medicalnewstoday.com/articles/9155.php [2017, May 21].