หลับระทม (ตอนที่ 4)

หลับระทม-4

ยาที่มีผลต่ออาการนอนไม่หลับ (ต่อ)

  • ยากลุ่มสแตติน (Statins) – ที่ใช้ในการลดไขมันในหลอดเลือด เช่น Simvastatin, Rosuvastatin, Lovastatin และ Atorvastatin
  • ยากลุ่มแอลฟาบล็อกเกอร์ (Alpha blockers) – ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูง (Hypertension) เช่น Terazosin, Silodosin, Alfuzosin, prazosin, Doxazosin และ Tamsulosin
  • ยากลุ่มเบต้าบล็อกเกอร์ (Beta blockers) – ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) เช่น Carvedilol, Propranolol, Atenolol, Metoprolol และ Sotalol
  • ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors = SSRIs) ที่ใช้เป็นยาต้านซึมเศร้า เช่น Fluoxetine, Citalopram, Paroxetine, Escitalopram และ Sertraline
  • ยากลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ (ACE inhibitors) – ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิตและภาวะหัวใจ เช่น Ramipril, Fosinopril, Benazepril, Enalapril, Lisinopril และ Captopril
  • ยากลุ่มเออาร์บี (Angiotensin II-receptor blockers = ARBs) - ที่ใช้ในการรักษาความดันโลหิต (กรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยากลุ่มเอซีอี อินฮิบิเตอร์ได้) เช่น Candesartan, Valsartan และ Losartan
  • ยากลุ่ม Cholinesterase inhibitors – ที่ใช้ในการรักษาโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ เช่น Rivastigmine, Donepezil และ Galantamine
  • ยากลุ่ม Second generation (non-sedating) H1 agonists – ที่ใช้รักษาอาการแพ้ เช่น Loratadine, Levocetirizine, Desloratadine และ Cetirizine
  • กลูโคซามีน (Glucosamine) / คอนดรอยติน (Chondroitin) – ที่ใช้เป็นอาหารเสริมในการบรรเทาอาการปวดข้อและลดการอักเสบ

นอกจากนี้ยังอาจเกิดจาก

  • ความผิดปกติทางจิตใจ เช่น โรควิตกกังวล (Anxiety disorders) โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (Bipolar disorder) เป็นต้น
  • อาการโรคเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น อาการปวดเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหอบ กรดไหลย้อน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน โรคพาร์กินสัน และโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
  • ฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงอย่าง ฮอร์โมนเอสโตรเจนระหว่างการมีรอบเดือน
  • ความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับการนอน เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep apnea) กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless legs syndrome)
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ การสูบสิ่งที่มีนิโคติน ในช่วงบ่ายหรือช่วงเย็น อาจรบกวนการนอนตอนกลางคืนหรือทำให้ตื่นกลางดึกได้
  • เทคโนโลยีด้านสื่อในห้องนอน (Media technology in the bedroom) เช่น โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ วีดีโอเกมส์ มือถือ

แหล่งข้อมูล:

  1. Insomnia http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/insomnia/home/ovc-20256955 [2017, May 18].
  2. Insomnia: Causes, Symptoms, and Treatments. http://www.medicalnewstoday.com/articles/9155.php [2017, May 18].