หลอดเลือดแดงโป่งพอง รุกฆาตโดยไม่รู้ตัว (ตอนที่ 6)

หลอดเลือดแดงโป่งพอง

หลอดเลือดสมองโป่งพองมี 2 ชนิด คือ

  1. Saccular aneurysm - การโปงพองตามแนว Tangential of axis เป็นชนิดที่เกิดมากที่สุด โดยมีประมาณร้อยละ 80-90 มีลักษณะการโป่งพองคล้ายลูกเบอรี่ที่มักเกิดในตำแหน่งของการแยกแขนงของหลอดเลือด (Bifurcation) ขนาดใหญ่ หรือตำแหน่งตรงกลางของรูปตัววาย “Y”
  2. Fusiform aneurysm – การโปงพองตามแนว Axis of vessel เป็นชนิดที่พบได้น้อย มีลักษณะเหมือนหลอดเลือดโป่งขยายออกทุกด้าน ไม่ได้แยกเป็นแขนงและไม่ค่อยจะแตก

อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเป็นอาการสำคัญของโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่แตก ส่วนอาการอื่นๆ ได้แก่

  • คลื่นไส้และอาเจียน
  • คอแข็ง
  • เห็นภาพไม่ชัดหรือเห็นภาพซ้อน
  • ไวต่อแสง
  • ชัก
  • หนังตาตก
  • สับสน
  • หมดสติ

กรณีที่หลอดเลือดสมองโป่งพองเพียงเล็กน้อยและไม่แตกอาจจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อย่างไรก็ดีกรณีที่หลอดเลือดสมองโป่งพองใหญ่แม้จะไม่แตก แต่ก็อาจจะกดไปกดทับเนื้อเยื่อและเส้นประสาท ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการ

  • ปวดเหนือและหลังกระบอกตา
  • รูม่านตาขยาย (Dilated pupil)
  • เห็นภาพซ้อนหรือสายตาเปลี่ยนไป
  • ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งชา อ่อนแรง หรือเป็นอัมพาต
  • หนังตาตก (Drooping eyelid)

ทั้งนี้ควรรีบไปพบแพทย์ด่วน กรณีรู้สึกปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน

สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองนั้นเป็นผลมาจากผนังหลอดเลือดที่บาง มักเกิดขึ้นบริเวณหลอดเลือดแดงเล็กๆ ซึ่งเป็นส่วนที่อ่อนแอ และแม้ว่าหลอดเลือดสมองโป่งพองจะสามารถเกิดได้ทุกที่ในสมอง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดบริเวณส่วนฐานของสมอง (Base of the brain)

ส่วนปัจจัยที่ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงอ่อนแอ จะเป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ซึ่งมักเกิดในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และมักเกิดในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (อัตราส่วน 3 : 2)

แหล่งข้อมูล

1. Brain aneurysm. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/brain-aneurysm/basics/definition/con-20028457 [2016, September 25].

2. Brain Aneurysm Basics. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/abdominal-aortic-aneurysm/home/ovc-20197858 [2016, September 25].