หลงตัวเอง (ตอนที่ 2)

หลงตัวเอง-2

เกณฑ์วินิจฉัยถึงความผิดปกติทางจิต (ต่อ)

  • เชื่อว่าตัวเองเลอเลิศ มีแต่คนพิเศษที่เท่าเทียมกันเท่านั้นที่เข้าใจ
  • ต้องการการยกย่องตลอดเวลา
  • ถือสิทธิ์ มองว่าตนเองควรได้รับสิทธิพิเศษ (Sense of entitlement)
  • เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นในสิ่งที่ตนต้องการ
  • ไม่สามารถหรือไม่เคยนึกถึงความจำเป็นและความรู้สึกของผู้อื่น
  • อิจฉาผู้อื่นหรือเชื่อว่าผู้อื่นอิจฉาตัวเอง
  • วางตัวหยิ่งยโส
  • ตั้งเป้าหมายที่ไม่เป็นความจริง

คนที่เป็นโรคหลงตัวเองจะไม่คิดว่าตัวเองผิด อย่างไรก็ดี ควรไปพบแพทย์หากมีอาการซึมเศร้าหดหู่จากการถูกวิจารณ์หรือการได้รับการปฏิเสธิ เพราะการได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะช่วยทำให้ชีวิตดีขึ้น

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบชัดว่าอะไรเป็นสาเหตุของโรคหลงตัวเอง แต่คาดว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับ

  • ความสัมพันธ์ที่ไม่พอดีระหว่างพ่อแม่และลูก เช่น อาจจะเลี้ยงแบบโอ้มากเกินไป หรือ ว่ากล่าวติเตียนมากเกินไป
  • เด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือถูกทำร้ายมักเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (Self-centered) พยายามดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตัวเองเพราะคิดว่าไม่มีใครช่วยเหลือ
  • พันธุกรรม (Genetics) หรือ จิตชีววิทยา (sychobiology) – ความสัมพันธ์ระหว่างสมอง พฤติกรรม และความคิด

โรคหลงตัวเองมักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักจะเริ่มเป็นตั้งแต่ตอนเป็นวัยรุ่น

หากไม่ได้ทำการรักษา โรคนี้อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา ได้แก่

  • ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์
  • ปัญหาที่ทำงานหรือที่โรงเรียน
  • หดหู่ซึมเศร้า
  • ติดยาหรือสารเสพติด
  • มีความคิดหรือพฤติกรรมที่จะจะฆ่าตัวตาย

แหล่งข้อมูล:

  1. Narcissistic personality disorder.http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/narcissistic-personality-disorder/basics/definition/con-20025568 [2017, August 28].
  2. Narcissistic Personality Disorder. http://www.webmd.com/mental-health/narcissistic-personality-disorder#1 [2017, August 28].